ข้อความต้นฉบับในหน้า
นี
ต้องพบเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจ
มี ๔ อย่าง ได้แก่
๑) เสื่อมลาภ คือผลประโยชน์ที่ได้มาแล้วเสียไป เช่น เสียเงิน
เสียที่อยู่ เสียลูกรัก ภรรยาตายจาก
๒) เสื่อมยศ คือถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง
ถูกถอดอำนาจ
๓) นินทา คือถูกตำหนิติเตียน ทั้งที่ต่อหน้าหรือลับหลัง
๔) ทุกข์ คือได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางกายและทางใจ
ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนาจะให้เกิด
ขึ้นกับตัวเอง เมื่อยังมาไม่ถึง จิตก็หวั่นว่ามันจะมา เมื่อมันมาแล้ว ก็
ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะไปเสียที มันไปแล้วก็ยิ่งหวั่นกลัวว่า จะกลับมาอีก
เมื่อชีวิตมนุษย์เรา มีทั้งสิ่งที่ทำให้จิตไหว และจิตหวั่นอย่างนี้
ปู่ย่าตาทวดจึงได้สอนให้เรารู้เท่าทันกับสภาพความเป็นจริงของ
สถานการณ์ชีวิตด้วยการทําภาวนาฝึกจิตให้สงบ ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
วัตถุประสงค์ของการฝึกจิตภาวนา ก็เพื่อให้ใจคุ้นเคยกับความ
สงบภายในเป็นปกติ
เมื่อเราต้องพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ได้
ยาก จิตก็ไม่หวั่น มีสติค้ำยันใจเอาไว้ได้ และเมื่อเราต้องพบกับความได้
ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้สุข จิตก็ไม่ไหว มีสติสอนตัวเองไม่ให้ลุ่ม
หลงไปกับมัน
คนที่มีสติทั้งยามทุกข์และยามสุขเช่นนี้ เพราะเขาทำภาวนาฝึกจิต
ให้ใจมั่นคงประดุจแผ่นดินเพราะเมื่อใจสงบแล้วย่อมรู้เท่าทันว่า โลกธรรม
ที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนอะไร ลาภมิได้ก็เสื่อมได้ ยศ
ตำแหน่งใหญ่โต ก็ไม่ใช่ของเราตลอดไป สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทุก
คนต้องพบกับมันทั้งนั้นและในที่สุดก็ต้องเสื่อมหายไปเป็นธรรมดาตามกฎ
ไตรลักษณ์
กฎไตรลักษณ์ คือ ความจริงที่เป็นลักษณะประจำตัวของทุกสรรพ
สิ่งในโลกนี้
ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้มีคุณสมบัติในตัวเองทั้งนั้นทองคำมีสีสุกอร่าม
วาววับ เพชรมีความแข็งแกร่ง กระจกมีความใสใช้สะท้อนเงาออกมาได้
คนเราก็มีความนึกคิดจิตใจ แต่ไม่ว่าจะสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม
ล้วนมีลักษณะ ๓ อย่างเหมือนกัน นั่นคือ
๑) อนิจจัง หมายถึง ความไม่เที่ยง ไม่หยุดอยู่กับที่ มีการ
เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา เช่น คนเราเมื่อวานกับวันนี้ไม่เหมือน
กัน มันเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ เป็นธรรมดา
๒) ทุกขัง หมายถึง ความเป็นทุกข์ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเป็นทุกข์
ร้องไห้น้ำตาตกเท่านั้น แต่หมายถึงคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องแตก
สลายไปเป็นธรรมดา เพราะเมื่อมันไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แล้ว
จุดสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลงก็คือการแตกสลายมลายไป แม้แต่โลกที่
เราอาศัยอยู่นี้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็ต้องแตกดับ
ทําลายไปเป็นธรรมดา
๓) อนัตตา หมายถึง ความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร หาตัว
ตนที่แท้จริงไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา เช่น เราห้ามความ
แก่ ความเจ็บ ความตาย ให้เกิดขึ้นแก่เราไม่ได้ แม้แต่ตัวเราที่เราคิดว่า
เป็นของเรา เมื่อนำมาแยกธาตุกันจริงๆ แล้ว เราก็พบเพียงเลือดเนื้อ กระดูก
เอ็น หนัง และอวัยวะอื่นๆ อีกสารพัดที่ประกอบกันขึ้นมา หาตัวจริงๆ
ของเราไม่เจอ มองเห็นเป็นตัวเราอยู่ได้แต่เพียงชั่วคราว พอถึงเวลาก็
ศ