การบวชในพระพุทธศาสนา: ญัตติจตุตถกรรม ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 55
หน้าที่ 55 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการบวชในพระพุทธศาสนาในเขตชนบทที่ห่างไกล โดยเน้นที่วิธีการบวชที่เรียกว่า 'ญัตติจตุตถกรรม' ซึ่งอนุญาตให้พระภิกษุในพื้นที่นี้ประชุมสงฆ์เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับผู้ขอบวช โดยมีการกำหนดจำนวนพระภิกษุที่ต้องมีในการประชุมสงฆ์สำหรับการบวชในเขตเมืองและเขตชนบท แถมยังระบุคุณสมบัติที่สำคัญของพระอุปัชฌาย์ในการดำเนินการบวชนี้ว่าต้องมีประสบการณ์และคุณภาพในการอบรม

หัวข้อประเด็น

-การบวชในพระพุทธศาสนา
-ญัตติจตุตถกรรม
-การประชุมสงฆ์
-คุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์
-ความสำคัญของการบวชในชนบท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ภายหลังจากงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านไปสิบกว่าปี ในแคว้นชนบทที่ห่างไกลออกไปจากแคว้นมคธ ซึ่งเป็น ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในยุคต้นพุทธกาล ก็มีประชาชน นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น และมีกุลบุตรขอบวชเพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ ทําให้ขาดแคลนพระอรหันต์ที่จะเดินทางไปบวช ได้ทั่วถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุ ที่อยู่ในแคว้นชนบททำการบวชด้วยวิธีการประชุมสงฆ์ ซึ่งการ บวชแบบนี้เรียกว่า “ญัตติจตุตถกรรม” โดยให้หมู่สงฆ์ร่วมกัน พิจารณาถึงความเหมาะสมของผู้ขอบวชว่ามีคุณสมบัติพร้อมที่ จะเป็นผู้รับการฝึกฝนอบรมหรือไม่ และเห็นควรรับเข้ามาอยู่ใน หมู่สงฆ์หรือไม่ การบวชในเขตชนบทห่างไกลนั้น พระองค์ทรงกำหนดว่า ต้องประชุมสงฆ์อย่างน้อยที่สุดจํานวน ๔ รูป ส่วนการบวชใน เขตตัวเมือง ทรงอนุญาตให้ประชุมสงฆ์จำนวน ๑๐ รูปขึ้นไป สำหรับพระอุปัชฌาย์ต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ ๑) เป็นพระภิกษุเถระที่ฝึกฝนอบรมตนมาอย่างดี เป็นต้นแบบความประพฤติที่ดีได้ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป ๒) เป็นผู้มีความฉลาดในการคัดกรองคนและประกอบ พิธีการบวชให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามพระ วินัยบัญญัติ ๑ มหาสมัยสูตร ที. ม. ๑๔/๒๓๕/๗๓ (มมร.) ความรู้ประมาณ CO รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา พุทธกิจเร่งสร้างคน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More