การเจริญภาวนาและความเพียรในพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 61
หน้าที่ 61 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ เพื่อมุ่งปราบกิเลสและบรรลุธรรม โดยเน้นการสำรวมอินทรีย์และบริโภคอาหารอย่างมีสติเมื่อปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างครบถ้วน อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาคริยานุโยคกับสัมมาวายามะและคุณสมบัติสำคัญในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง.

หัวข้อประเด็น

-การเจริญภาวนา
-ความเพียร
-อริยมรรคมีองค์ ๘
-สัมมาทิฐิ
-ชาคริยานุโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ถึงคราวเจริญภาวนาก็ทำให้ใจสงบนิ่งได้เร็ว ไม่ฟุ้งซ่านด้วย ตัณหา ทำให้สามารถบรรลุธรรมได้เร็วไว ๓) ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรเครื่อง ตื่นอยู่ ซึ่งหมายถึงการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ตลอดทั้งวันทั้งคืน เพื่อมุ่งปราบกิเลสให้ หมดสิ้นไปอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะประกอบความ เพียรได้ทุกอิริยาบถก็เพราะสามารถสำรวมอินทรีย์ และรู้ ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นนิสัย ผู้ที่ประกอบความเพียรเพื่อก่าจัดกิเลสอย่างสม่ำเสมอนี้ ย่อมช่วยให้การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ สมบูรณ์ครบถ้วน โดย เริ่มตั้งแต่ความเห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร ซึ่งเป็นความเห็นถูก ต้องหรือสัมมาทิฐิ ส่งผลให้คิดถึงการออกบวช ซึ่งเป็นความคิด ถูกต้องหรือสัมมาสังกัปปะนั่นเอง สำหรับเรื่องอินทรียสังวรนั้น ก็คือ สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ ส่วนโภชเน มัตตัญญุตา นั้นมีความสัมพันธ์กับทั้งสัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ ชาคริยานุโยค ก็คือสัมมาวายามะโดยตรง ซึ่งมีความสัมพันธ์ กับสัมมาสติและสัมมาสมาธิด้วย กล่าวได้ว่า ผู้ที่มีสัมมาทิฐิมองเห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร และคิดว่าการออกบวชคือวิถีทางแห่งความหลุดพ้น เมื่อบวช แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติ “อปัณณกธรรม” อย่างต่อเนื่องจริงจังก็ เท่ากับได้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้สมบูรณ์ครบถ้วน ยิ่ง ปฏิบัติอปัณณกธรรมหรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่รอบมาก ความรู้ประมาณ ๔๗ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา พุทธกิจเร่งสร้างคน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More