การปกครองสงฆ์และความเคารพในพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 128
หน้าที่ 128 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้หารือเกี่ยวกับการปกครองในสงฆ์ที่ต้องอาศัยความเคารพและการเชื่อฟังต่อผู้มีอำนาจและผู้มีประสบการณ์ โดยการเคารพในความประพฤติที่ดีของพระเถระผู้ใหญ่จะเสริมสร้างความมั่นคงของสงฆ์และพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังพูดถึงการฝึกตนของสมาชิกที่ดี และการรู้จักประมาณในการดำรงชีวิต เพื่อรักษาหลักการที่สำคัญในองค์กรนี้

หัวข้อประเด็น

-การปกครองสงฆ์
-ความเคารพในพระพุทธศาสนา
-การปฏิบัติธรรม
-การฝึกตนของสมาชิก
-อปริหานิยธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าและมีอำนาจในการปกครอง สงฆ์หมู่นั้น การที่สงฆ์ยังปกครองกันอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยความเคารพ อยู่ ๒ สถานะ คือ ๑) ในด้านการปกครอง ก็อาศัยความเคารพ นับถือเชื่อฟังตามฐานะของท่านผู้มีอำนาจที่ได้รับการแต่งตั้งนั้น ๒) ในด้านความประพฤติ ก็อาศัยความเคารพเชื่อฟังท่านผู้ มีอายุพรรษามากกว่า ผู้สามารถเป็นต้นแบบความประพฤติให้ กับเราได้ ดังนั้น การปฏิบัติด้วยความเคารพนับถือและเชื่อฟัง ถ้อยค่าของพระเถระผู้ใหญ่เช่นนี้ ย่อมทำให้การปกครองสงฆ์มี ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง เพราะมีพระเถระผู้ประพฤติดีปฏิบัติ ชอบเป็นต้นแบบด้านความประพฤติ เป็นผู้ชี้นำและเป็นต้นแบบ ด้านการปฏิบัติธรรมเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน นี่คือ อานุภาพของการปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพและให้เกียรติซึ่ง กันและกัน ย่อมทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ๒) การฝึกตนของสมาชิกที่ดี สมาชิกที่ดี อปริหานิยธรรมข้อที่ ๕-๖ คือหลักการฝึกตนของ อปริหานิยธรรมข้อที่ ๕ ไม่ลุแก่อำนาจความอยากที่ เกิดขึ้น สำหรับข้อนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกในองค์กรรู้จักการ พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง ความรู้ประมาณ ๑๑๔ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ดำรงชีวิตด้วยความมักน้อยสันโดษ คือเป็นผู้รู้จักประมาณใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More