ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
การฝึกพิจารณาความเปื่อยเน่าของร่างกายอยู่เป็นประจำ
เช่นนี้ จะทำให้ใจมีสติอยู่ในตัวตลอดเวลา ไม่เปิดช่องให้กิเลส
กำเริบเสิบสานขึ้นมาบีบคั้นใจได้ ทำให้ไม่ติดเหยื่อล่อทางตา
ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจได้ง่าย จึงทั้งไม่
หลงตัวเอง และไม่หลงไปกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่มา
ล่อลวงใจให้ไปติดกับดักของตัณหา เมื่อมองเห็นสภาพร่างกาย
ของตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริงแล้วว่า ล้วนเป็นธาตุเปื่อย
เน่า ก็จะทำให้เกิดความไม่ประมาทในชีวิต รู้จักคิดพัฒนาตนให้
ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมต่าง ๆ ได้ ทำให้เป็นผู้มีจิตใจผ่องใสเยือก
เย็นและมีกำลังใจที่จะประพฤติปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้ก้าว
หน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
๔) บทฝึกการละนิวรณ์ ๕ ด้วยการพิจารณาความ
เป็นธาตุเปื่อยเน่าของร่างกาย
การพิจารณาความเป็นธาตุเปื่อยเน่าของร่างกายนี้ เป็นบท
ฝึกสติที่เอื้อให้ละนิวรณ์ ๕ ได้เร็วขึ้นในคราวเจริญสมาธิภาวนา
ทั้งนี้เพราะเมื่อพิจารณาความเป็นธาตุเปื่อยเน่าของร่างกายแล้ว
ใจย่อมมีสติ มั่นคงและไม่แล่นออกไปนอกตัว ทำให้รู้จัก
พิจารณาสอนตนเองให้รู้วิธีขัดขวางป้องกันการกำเริบของนิวรณ์
ธรรมได้อย่างต่อเนื่อง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
๔.๑) ขัดขวางป้องกันการกำเริบของกามราคะ
เพราะได้ตระหนักถึงความจริงว่า ร่างกายของมนุษย์นั้น ดูสวยงามก็
การฝึกความรู้ประมาณเพื่อพานักโทษแหกคุก
ออกจากวัฏสงสาร
๑๖๒
ความรู้ประมาณ
รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา