ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
ชีวิตประจำวัน” ลงไปได้มาก จึงมีเวลาที่จะบำเพ็ญสมณธรรม
คือปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะอำนวย
ประโยชน์เกื้อกูลต่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระภิกษุเป็น
อย่างมาก
ในแต่ละวันได้แล้ว
เมื่อพระภิกษุใหม่ปรับตัวเข้ากับการดำรงชีพด้วยนิสัย ๔
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงให้หลักปฏิบัติ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่กำจัดทุกข์ในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม
ไม่มีทางผิดพลาด เรียกว่า “อปัณณกธรรม” แปลว่า การ
ปฏิบัติที่ไม่ผิด มีอยู่ ๓ ประการ ได้แก่
๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ หมายถึง การ
รู้จักระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เผลอไปดู ไปฟัง ไปดม
ไปลิ้มรส ไปสัมผัส ไปสู่มหลงในสิ่งที่ยั่วเย้ายวนใจให้อกุศลธรรม
ครอบงำใจอันเป็นการเปิดช่องทางให้กิเลสกำเริบเสิบสานขึ้นม
บีบบังคับใจให้เกิดทุกข์เพราะตัณหาขึ้นในทันที
ผู้ที่ฝึกความสำรวมอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ ย่อมเก็บใจไว้
ในตัวได้เป็นปกติ ทำให้ใจคุ้นกับความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
หลงใหลไปกับสิ่งยั่วเย้ายวนใจได้ง่าย เมื่อถึงคราวเจริญภาวนา
ใจก็สงบ ไม่คิดฟุ้งซ่านไปกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ
อารมณ์ต่างๆ ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ทำให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิ
ได้เร็ว และบรรลุธรรมได้ไว
อปัณณกสูตร, อง.ติก. ๓๔/๕๕๕/๔๖ (มมร.)
ความรู้ประมาณ CC
รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
พุทธกิจเร่งสร้างคน