ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
ด
“แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส
นิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำ
สายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ การที่
แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์”
จากการศึกษาเรื่องการสร้างความมั่นคงของพระธรรมวินัย
มาตามลำดับๆ นี้ ย่อมจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
ทำงานอย่างรอบคอบ ทรงวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
ก็ทรงมี
โดยทรงเริ่มต้นที่การสร้างบุคคลให้มีความเคารพพระธรรมวินัย
สูงสุดดุจเดียวกับพระองค์ไว้เป็นบุคคลต้นแบบ ต่อมาเมื่อพระ
ธรรมคำสอนของพระองค์เพิ่มจำนวนมากขึ้น
พุทธานุญาตให้วางแนวทางการทำสังคายนาไว้ล่วงหน้า โดย
ทรงให้จัดทำไว้เป็นหมวดหมู่ก่อน ต่อจากนั้นก็ประทาน
มหาปเทส ๔ ไว้เป็นแนวทางขจัดข้อสงสัยคำเทศน์สอนของ
ภิกษุ หรือเป็นเกณฑ์พิจารณาคำเทศน์สอนของภิกษุว่าถูก
ต้องตามพระธรรมวินัยหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง แม้
พระองค์จะทรงวางแนวทางปฏิบัติไว้อย่างเป็นระบบแล้วก็ตาม
แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในหมู่พุทธบริษัททั้งปวง
พระองค์จึงสรุปหลักการตรัสรู้ธรรมในพระพุทธศาสนาไว้อย่าง
ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นที่
ปหาราทสูตร, องอฏฺฐก. ๒๓/๑๙/๒๕๐ (มจร.)
ความรู้ประมาณ
พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง
๑๗๘ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา