อัตตัญญู: การรู้จักตนในการปฏิบัติธรรม ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 94
หน้าที่ 94 / 188

สรุปเนื้อหา

อัตตัญญู หมายถึง การรู้จักตัวเองในบริบทของการปฏิบัติธรรมซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าภิกษุจะต้องรู้จักความมีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ เพื่อการดำเนินตามพระธรรมอย่างถูกต้อง การฝึกฝนตนเองให้เข้าใจในคำสอนและข้อบกพร่องของกิเลสภายในจิตใจเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติธรรม ผู้ที่ไม่ตรวจสอบคุณธรรมภายในอาจพบกับความท้อแท้และเลิกปฏิบัติ ขณะที่บางคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับการหมดกิเลสโดยไม่พิจารณารากฐานของการฝึกปฏิบัติอย่างถ่องแท้ ในที่สุดการรู้จักตนเองจึงเป็นก้าวแรกสู่การเข้าถึงนิพพาน

หัวข้อประเด็น

- อัตตัญญู
- การรู้จักตน
- คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- การปฏิบัติธรรม
- คุณธรรมและกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ๓) อัตตัญญู คือ เป็นผู้รู้จักตน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการฝึกฝนอบรมตนให้ เป็นอัตตัญญูไว้ว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ... ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า เป็นอัตตัญญู ..." พระภิกษุที่ฝึกตนจนเป็นผู้ที่ทั้งรู้จักพระธรรมคำสั่งสอน และรู้จักเนื้อความอันลึกซึ้งในแต่ละนัยยะของพระธรรมคำสั่ง สอน ก็ย่อมจะสามารถปฏิบัติธรรมได้ตรงตามพระพุทธวจนะ ไม่มีผิดพลาดคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่เรียกว่าหลุมพรางของการปฏิบัติ ธรรม ซึ่งเกิดจากการที่เราเองก็ไม่รู้ว่าใจมีลักษณะเป็นอย่างไร กิเลสที่อยู่ในใจมีลักษณะเป็นอย่างไร มีมากมายเพียงไรก็ไม่รู้ รู้ แต่อาการของกิเลสเท่านั้นว่าทำให้เร่าร้อน ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้ ตรวจสอบประเมินคุณธรรมของตนเองให้ดี ก็จะทำให้เกิดความ ท้อแท้ท้อถอยคิดว่า ปฏิบัติไปเท่าไร ก็คงไม่มีโอกาสบรรลุ นิพพาน จึงเลิกปฏิบัติ ในขณะที่บางคนมีความก้าวหน้า จิตใจปลอดโปร่งเบา สบาย ยกใจขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาความไม่เที่ยง ทำให้เหมือน ไม่ยึดไม่ติดอะไรเลย ก็เลยเข้าใจว่านี่คือสภาวะหมดกิเลส กว่า ความรู้ประมาณ พุทธภารกิจเร่งสร้างครู GO รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More