ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
ต้มตุ๋นหลอกลวง เป็นต้น
|
๒) ความรับผิดชอบต่อศีลธรรมของสังคม คือ การ
ฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็น “บุคคลที่ไม่ทำลายความเป็น
ธรรมของสังคม” ด้วยการไม่ทำกรรมชั่วทางใจที่เรียกว่า
“อคติ ๔” ได้แก่ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียง
เพราะโง่ ลำเอียงเพราะกลัว เพราะเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความ
แตกแยกต่างๆ ขึ้นในสังคม เช่น ปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหา
การกลั่นแกล้ง ปัญหาการทำลายกฎเกณฑ์ ปัญหาอิทธิพลมืด
เป็นต้น
๓) ความรับผิดชอบต่อศีลธรรมของเศรษฐกิจ คือ
การฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็น “บุคคลที่ไม่เลี้ยงชีพด้วยการ
ทำลายศีลธรรมของผู้อื่นในสังคม” ด้วยการไม่ทำอาชีพชั่วที่
เรียกว่า มิจฉาอาชีวะ ได้แก่ การค้าอาวุธ การค้ามนุษย์ การ
ค้าขายสัตว์เพื่อฆ่าเอาเนื้อ การค้าของมึนเมา (รวมทั้งสิ่งเสพติด
ทั้งหลาย) การค้ายาพิษ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเครือข่ายอาชญากรที่
กระทําผิดกฎหมายขึ้นในสังคม อีกทั้งไม่ส่งเสริมคนที่ท่าอาชีพ
ชั่วด้วยการเสพ “อบายมุข ๖” ได้แก่ การดื่มสุรา การเที่ยว
กลางคืน การหมกมุ่นในสิ่งบันเทิงเริงรมย์ การเล่นการพนัน
การคบคนชั่วเป็นมิตร ความเกียจคร้านการงาน ซึ่งเป็นเหตุให้
เกิดปัญหามิจฉาชีพต่างๆ ขึ้นในสังคม เช่น ปัญหาการค้ายา
เสพติด ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม ปัญหาการค้าประเวณี
ปัญหาการพนัน ปัญหาหนี้สินนอกระบบ ปัญหาแรงงานด้อย
คุณภาพ เป็นต้น
ความรู้ประมาณ 600
รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง