นิสัยของพระภิกษุบวชใหม่ที่ส่งผลต่อชีวิต ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 65
หน้าที่ 65 / 188

สรุปเนื้อหา

การแนะให้ชาวพุทธทบทวนถึงวิธีการฝึกอบรมพระภิกษุบวชใหม่ โดยใช้ ๔ ขั้นตอน เช่น แนะนำให้นำให้ดู เพื่อเสริมสร้างนิสัยที่ดี ซึ่งส่งผลต่อการบรรลุธรรมของพระอรหันต์ ในช่วงปลายพุทธกาลยังคงพบว่าการบวชมีจำนวนเพิ่มขึ้นและสัมพันธ์กับการสนับสนุนของสาธารณะในแต่ละยุค.

หัวข้อประเด็น

-นิสัยของพระภิกษุบวชใหม่
-วิธีการฝึกอบรม
-ความสำคัญของสันดานดี
-การสร้างคนในยุคปลายพุทธกาล
-การบิณฑบาตและลาภสักการะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org นิสัยของพระภิกษุบวชใหม่ติดตัวไปตลอดชีวิต โดยใช้วิธีการ ๔ ขั้นตอน คือ ๑) แนะให้ทำ ๒) นำให้ดู ๓) อยู่ให้เห็น ๔) เคี่ยวเข็ญให้เป็นนิสัย ซึ่งเป็นมาตรฐานการฝึกอบรมที่ใช้ กันมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งมุ่งเน้นที่การขัดเกลาให้มีสันดานดีเป็น สําคัญ การที่พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ปฏิบัติตามภาระ หน้าที่ในการอบรมศิษย์อย่างเข้มแข็งนี้เอง จึงทำให้ในช่วงเวลา นั้น แม้การบัญญัติคำสอนยังมีน้อยอยู่ แต่ก็มีผู้บรรลุธรรมเป็น พระอรหันต์เป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากในยุคหลังที่การ บัญญัติค่าสอนมีมาก แต่กลับมีผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ จำนวนน้อยลง เป็นการสวนทางกันระหว่างจำนวนสิกขาบทที่ เพิ่มขึ้นกับจำนวนพระอรหันต์ที่น้อยลง ต ๓. การสร้างคนในยุคปลายพุทธกาล ต่อมาเมื่อเข้าสู่ช่วง ๒๕ ปี สุดท้าย ก่อนที่พระสัมมาสัม พุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน การบวชในแว่นแคว้นต่างๆ แพร่หลายมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ส่งผลให้จำนวนพระภิกษุ บวชใหม่มีเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ชาวพุทธก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่าง มหาศาล การบิณฑบาตเพื่อเลี้ยงชีพก็ไม่ฝืดเคือง เพราะจำนวน ลาภสักการะก็เพิ่มขึ้นตามมาอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน สัทธรรมปฏิรูปกสูตร, ส.น. ๑๖/๕๓๑/๖๓๐ (มมร.) ความรู้ประมาณ CO พุทธกิจเร่งสร้างคน รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More