ปัจจัย ๔ ในชีวิตประจำวัน ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 175
หน้าที่ 175 / 188

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธพจน์ได้กล่าวถึงปัจจัย ๔ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ว่าเป็นเพียงธาตุที่รวมกันจากธาตุ ๔ ในชีวิตประจำวัน การใช้ปัจจัยเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของร่างกายที่เปื่อยเน่า เช่น เสื้อผ้าก็เปลี่ยนเป็นของน่ารังเกียจจากเหงื่อ, อาหารเมื่อใช้จะถูกขับถ่ายในรูปอุจจาระและปัสสาวะ, หรือแม้แต่ยาที่เมื่อเข้าไปในร่างกายจะกลายเป็นของสกปรกเมื่อถูกขับออก ความเข้าใจในความเป็นธาตุของปัจจัยเหล่านี้ช่วยให้เรามีมุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการพัฒนาตนเองในทางพระพุทธศาสนา การฝึกความรู้ประมาณยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รอดพ้นจากกรรมและวัฏสงสารในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ปัจจัย ๔
-ธรรมชาติของร่างกาย
-การใช้ชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
-ความรู้ประมาณ
-ความเข้าใจในปัจจัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org “ปัจจัยนั้นๆ เป็นเพียงธาตุ เป็นไปตามปัจจัยปรุงแต่ง คือ เป็นของที่ผสมรวมกันของธาตุ ๔ ในปริมาณต่างๆ กัน ปรุงแต่ง ให้เป็นปัจจัยแต่ละประเภท บุคคลผู้ใช้ปัจจัยนั้น ก็เป็นเพียงธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารทั้งปวงนี้ เดิมเป็นของสะอาด ครั้นมาถูกต้องกับ ร่างกายอันเปื่อยเน่านี้แล้ว ก็กลับกลายเป็นของน่ารังเกียจทันที” จากพระพุทธพจน์นี้ เมื่อนำมาพิจารณาการใช้ปัจจัย ๔ ใน ชีวิตประจำวัน ก็จะพบตัวอย่างมากมาย เช่น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เดิมทีก็เป็นของสะอาด แต่เมื่อนำมา นุ่งห่มก็กลายเป็นของเหม็นจากเหงื่อไคล เพราะความเป็นธาตุ เปื่อยเน่าของร่างกาย อาหารและน้ำดื่ม เดิมทีก็เป็นของสะอาด แต่เมื่อบริโภค ลงไปในร่างกาย ก็ขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระและปัสสาวะ เพราะความเป็นธาตุเปื่อยเน่าของร่างกาย ผ้าห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง เดิมทีก็เป็นของสะอาด แต่เมื่อ ถูกร่างกายเกลือกกลั้ว ก็กลายเป็นของเหม็นด้วยเหงื่อไคล เพราะความเป็นธาตุเปื่อยเน่าของร่างกาย ยารักษาโรค เดิมทีก็เป็นของสะอาด แต่เมื่อบริโภคเข้าไป ก็ผสมกับน้ำเลือดน้ำหนองในร่างกาย ครั้นถูกขับถ่ายออกมากับ ปัสสาวะและเหงื่อไคล กลายเป็นของสกปรก เพราะความเปื่อย เน่าของร่างกาย ความรู้ประมาณ การฝึกความรู้ประมาณเพื่อพานักโทษแหกคุก รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ออกจากวัฏสงสาร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More