คุณสมบัติของวัดที่เหมาะแก่การบรรลุธรรม ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 104
หน้าที่ 104 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัดที่เหมาะแก่การบรรลุธรรมผ่านคำสอนของพระพุทธองค์ และประวัติความหนาแน่นของพระภิกษุรวมตัวกันที่วัดพระเชตวันและวัดบุพพาราม เพื่อรับฟังธรรมและการฝึกอบรมภิกษุใหม่ โดยมีคำสอนที่เตือนให้ไม่ประมาทในการฝึกอบรมเพื่อให้บรรลุธรรมได้อย่างมั่นคงและรวดเร็ว สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของวัด
-การบรรลุธรรม
-การอบรมจากพระพุทธองค์
-ประวัติพระเชตวัน
-การฝึกอบรมพระภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org หรือหากได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระองค์เองโดยตรงก็จะ บรรลุธรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้นดังที่ตรัสรับรอง ว่า “หากสอนในยาม เช้า ก็จะเป็นพระอรหันต์ในยามเย็น” ๒.๕ คุณสมบัติของวัดที่เหมาะแก่การบรรลุธรรม เนื่องจากในช่วงพรรษาที่ ๒๐-๔๕ ซึ่งเป็นเวลา ๒๕ ปี ที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระเชตวันและ วัดบุพพารามโดยตลอดนั้น วัดทั้งสองแห่งนี้จึงเนืองแน่นด้วย พระภิกษุที่เดินทางมาจากทุกทิศ เพื่อเข้าเฝ้ากราบทูลถาม ปัญหาต่างๆ กับพระพุทธองค์ ขณะเดียวกัน ทุกๆ วันก็มีชาว เมืองเดินทางมาฟังธรรมเป็นจำนวนแสนๆ ยิ่งในวันที่มีการแสดง ธรรมในหัวข้อพิเศษๆ ก็จะมีชาวเมืองพากันมาฟังธรรมเป็น จํานวนล้านถึงกับมีผู้คนล้นออกมานอกวัดก็เคยปรากฏมาแล้ว ส่งผลให้สถานที่ปฏิบัติธรรมไม่เพียงพอต่อการฝึกอบรมพระ ภิกษุบวชใหม่ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุไป หาทำเลที่เหมาะๆ แก่การปฏิบัติธรรม หลังจากที่พระองค์แสดง ธรรมจบแล้ว โดยทรงมีรับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้ง หลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใน ภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย” โพธิราชกุมารสูตร, ม.ม. ๒๑/๕๑๘/๑๓๒ (มมร.) • ปฐมธรรมวิหาริกสูตร, อง. ปญฺจก ๓๖/๒๓/๑๖๘ (มมร.) พุทธภารกิจเร่งสร้างครู GO ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More