การอบรมและการบวชพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 56
หน้าที่ 56 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการอบรมพระภิกษุใหม่ให้เป็นผู้ตั้งมั่นในศีลาจารวัตรและเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก การบวชตามญัตติจตุตถกรรมช่วยให้มีจำนวนพระภิกษุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในระยะเริ่มแรกการคัดกรองคนสมัครบวชมีคุณภาพ แต่เมื่อคุณภาพการอบรมลดลงก็ทำให้เกิดปัญหาในหมู่สงฆ์ ในที่ประชุมสงฆ์จึงมีการบัญญติศีลสิกขาบทเพื่อให้หมู่สงฆ์ได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง.

หัวข้อประเด็น

-การอบรมพระภิกษุ
-การบวชและญัตติจตุตถกรรม
-ศีลาจารวัตร
-การปราบกิเลส
-ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ๓) เป็นผู้มีความสามารถในการเป็นครูบาอาจารย์ คือ ให้การอบรมสั่งสอนพระภิกษุใหม่ให้เป็นผู้เลี้ยงชีพ ด้วยการถือนิสัยของนักบวชได้ สอนให้มีศีลาจารวัตร งดงามได้ สอนให้ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยได้ และ สอนการเจริญกรรมฐานเพื่อการปราบกิเลสในตนได้ ทั้งนี้เพื่อให้ภิกษุใหม่เป็นอายุพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญอย่างแท้จริงของชาวโลก และ การบวชแบบญัตติจตุตถกรรมนี้เอง เป็นเหตุให้การบวช พระภิกษุในดินแดนชนบทที่ห่างไกลแพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นอันมาก ยังผลให้มีจำนวนพระภิกษุที่มีศรัทธาบวชตลอด ชีวิตเพิ่มขึ้นจากหลักหมื่นเป็นหลักแสนอย่างรวดเร็ว การบวชโดยการประชุมสงฆ์นี้ ในระยะแรกก็ยังไม่มีปัญหา แต่อย่างใด เพราะการคัดกรองคนที่สมัครมาบวชอย่างรอบคอบ และการอบรมมีคุณภาพไม่ย่อหย่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึง มิได้ทรงบัญญัติพระปาฏิโมกข์หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ซึ่งเป็นศีล สิกขาบทของพระภิกษุในปัจจุบัน ครั้นต่อมาเมื่อการคัดกรองคน และการอบรมคนมีคุณภาพย่อหย่อนลง จึงเป็นเหตุให้มีพระ ภิกษุบางรูปประพฤติตนไม่เรียบร้อย และก่อปัญหาที่ไม่ดีไม่งาม ขึ้นในหมู่สงฆ์ ซึ่งเรียกว่า “ต้นบัญญัติ” ทำให้หมู่สงฆ์ต้องถูก ชาวโลกติเตียน พระศาสนาพลอยมัวหมองไปด้วย พระพุทธองค์ จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ และบัญญัติศีลสิกขาบททีละข้อ ๆ ให้หมู่ สงฆ์รับทราบและนำไปปฏิบัติให้ตรงกัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิด พุทธกิจเร่งสร้างคน ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More