สังคมบริโภคนิยมและปัญหาที่เกิดขึ้น ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 174
หน้าที่ 174 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากการบริโภคเพื่อสนองตัณหาในสังคม เช่น ปัญหาหนี้นอกระบบ การทำลายป่า คอรัปชั่น และเอกราชทางการเงิน ซึ่งเกิดจากความไม่รู้ประมาณในการบริโภค หากยังคงบริโภคเช่นนี้ต่อไป จะทำให้คนกลายเป็นทาสตัณหา และตกอยู่ในวัฏสงสารตลอดไป นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการฝึกพิจารณาความเป็นธาตุเปื่อยเน่าของร่างกาย ความรู้ประมาณในการบริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหนีจากการติดในวัฏสงสาร

หัวข้อประเด็น

-สังคมบริโภคนิยม
-ปัญหาความไม่รู้ประมาณ
-การบริโภคและตัณหา
-การพิจารณาความเป็นธาตุเปื่อยเน่า
-การฝึกความรู้ประมาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org สังคม การบริโภคเพื่อสนองตัณหาได้ก่อปัญหาหลายอย่างขึ้นใน จนกระทั่งเกิดการบัญญัติศัพท์เรียกสังคมที่ไม่รู้จัก ประมาณในการบริโภคนี้ว่า “สังคมบริโภคนิยม” หรือแท้จริงก็ คือ “สังคมที่บริโภคเพื่อสนองตัณหา” ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา หลายอย่างขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาหนี้นอกระบบ ปัญหาบุกรุกทำลายป่า ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาทำลายสิ่ง แวดล้อมธรรมชาติ ปัญหาอบายมุขท่วมเมือง เป็นต้น ซึ่งปัญหา เหล่านี้เกิดจากความไม่รู้ประมาณในการบริโภคปัจจัย ๔ ทั้งสิ้น ถ้าหากยังบริโภคกันแบบนี้ตลอดไป ก็คงหลีกหนีไม่พ้นการตก เป็น “ทาสตัณหา” ไปตลอดชีวิต และเป็นสาเหตุให้ต้องติดอยู่ ในการเวียนว่ายตายเกิดในคุกแห่งวัฏสงสารไปตลอดกาลนาน ๓) บทฝึกพิจารณาความเป็นธาตุเปื่อยเน่าของ ร่างกายทำให้แปดเปื้อนปัจจัย ๔ บทฝึกที่สามของการสู้กับกิเลส เริ่มต้นที่การเปรียบ เทียบสภาพของวัตถุที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการใช้ปัจจัย ๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักพิจารณาความเป็น ธาตุเปื่อยเน่าของร่างกายทำให้แปดเปื้อนปัจจัย ๔ ซึ่งดูจาก สภาพก่อนใช้นั้น ปัจจัย ๔ ยังมีความสะอาดอยู่ แต่เมื่อผ่านการ บริโภคไปแล้ว ก็กลับกลายเป็นของสกปรกขึ้นมา เพราะมีธาตุ ความเปื่อยเน่าของร่างกายแปดเปื้อนและปนเปื้อนลงไปด้วย โดยทรงให้พิจารณาว่า การฝึกความรู้ประมาณเพื่อพานักโทษแหกคุก ออกจากวัฏสงสาร ความรู้ประมาณ ๑๖๐ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More