คุณสมบัติและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบรรลุธรรม ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 106
หน้าที่ 106 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของบุคคลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา หากแม้ว่าบุคคลมีคุณสมบัติเหมาะสมแต่สภาพแวดล้อมไม่ดี เช่น สกปรกรุงรังหรือขาดแรงบันดาลใจ การบรรลุธรรมก็เป็นเรื่องยาก โดยบทความนี้เน้นย้ำว่าการฝึกอบรมทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อมภายในวัดจำเป็นต่อการเรียนรู้และปฏิบัติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างฐานความรู้ที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของคนและสถานที่ในการบรรลุธรรม
-การอบรมและการดูแลสภาพแวดล้อมภายในวัด
-การสร้างนิสัยดีสำหรับการปฏิบัติธรรม
-ผลกระทบของบรรยากาศต่อการศึกษาและการปฏิบัติ
-เสริมสร้างคุณสมบัติด้านจิตใจในการบรรลุธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การบรรลุธรรมมาแล้ว แต่ถ้า สถานที่สกปรกรกรุงรัง การบิณฑบาตเลี้ยงชีพฝืดเคือง ไม่มีพระ เถราจารย์ที่เป็นต้นแบบการทำภาวนา เพื่อนสหธรรมิกก็ไม่รัก การทาภาวนา การอยู่ร่วมกันก็ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีพระ เถราจารย์มาให้โอวาทสั่งสอน เพื่อให้ความรู้ ให้กำลังใจ ให้การ เตือนสติในการหมั่นเพียรภาวนา การเข้าไปอยู่ในสภาพ แวดล้อมเช่นนั้น ย่อมยากที่จะบรรลุธรรม ดังนั้น การฝึกอบรมคนและสถานที่ที่เหมาะกับการอบรม คน จึงเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธ ศาสนา เพราะถึงแม้ได้คนรักดี แต่สถานที่ไม่ดีก็ไม่บรรลุธรรม หรือได้สถานที่ดี แต่คนไม่รักดี ก็ไม่บรรลุธรรม จำเป็นต้องได้ ทั้งคนรักดีและสถานที่ดี จึงจะมีโอกาสบรรลุธรรม เพราะเหตุนี้ การฝึกอบรมคนขั้นพื้นฐานตั้งแต่นิสัย ๔ และ อปัณณกธรรม ๓ จึงเป็นส่วนสำคัญในการเคี่ยวเข็ญอบรมคนให้ มีคุณสมบัติทั้ง ๕ ประการ ที่เหมาะแก่การบรรลุธรรม ขณะ เดียวกันการทําหน้าที่เคี่ยวเข็ญอบรมศิษย์ของพระอุปัชฌาย์และ พระอาจารย์ด้วยการแนะให้ทำ นำให้ดู อยู่ให้เห็น เคี่ยวเข็ญให้ เป็นนิสัย ก็จะมีผลอย่างมากต่อการฝึกอบรมคนและการดูแลสิ่ง แวดล้อมภายในวัดให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การบรรลุธรรม ไม่สกปรกรกรุงรัง ไม่มีขยะเกลื่อนกลาด มองไปทางใดก็เห็นแต่ ความสะอาด ความร่มรื่น ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เจริญหู เจริญตา ไม่ว่าจะเป็นวัดที่อยู่ในเมืองหรืออยู่ในป่า ก็ยังคงมีมุม พุทธภารกิจเร่งสร้างครู ความรู้ประมาณ ๑๒ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More