นวังคสัตถุศาสน์และศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 89
หน้าที่ 89 / 188

สรุปเนื้อหา

ในช่วง 25 ปีสุดท้ายของยุคพุทธกาล วัดพระเชตวันและวัดบุพพารามกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ขณะที่ในช่วงต้นพุทธกาล พระธรรมยังไม่แพร่หลายมากนัก จนในเวลา 20 ปีจำนวนพระภิกษุและชาวพุทธได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงถูกแบ่งออกเป็น 9 หมวดใหญ่ ได้แก่ นวังคสัตถุศาสน์ เช่น สุตตะ และพระวินัย ตลอดจนความรู้ที่เพิ่มพูน ทำให้พุทธศาสนามีความมั่นคงเพิ่มขึ้น

หัวข้อประเด็น

-บทบาทศูนย์กลางพระพุทธศาสนา
-ประวัติพระนวังคสัตถุศาสน์
-การเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์
-การเพิ่มขึ้นของชาวพุทธ
-ความสำคัญของสุตตะและพระวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org เวลาผ่านไป 4 เดือน ก็จะเสด็จกลับมาจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี อีก ๓ เดือน ส่งผลให้วัดพระเชตวันและวัดบุพพาราม ณ กรุง สาวัตถี แคว้นโกศล กลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในช่วง ๒๕ ปีสุดท้ายของยุคพุทธกาล ส่วนวัดเวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในยุคต้นพุทธกาล ๒.๒ นวังคสัตถุศาสน์ ดังได้กล่าวแล้วว่าในช่วงต้นพุทธกาลนั้น พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์มีอยู่ไม่มากนัก ครั้นเวลาผ่านไป พระธรรมคำสั่งสอนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับจำนวนพระภิกษุ และชาวพุทธที่ทวีขึ้นเป็นจำนวนล้านๆ กระจายอยู่ทั่วทุกแว่น แคว้น เพียงในช่วงเวลา ๒๐ ปี ก็ปรากฏว่าคำสอนในพระพุทธ ศาสนาได้รับความศรัทธาอย่างแพร่หลาย ยิ่งกว่าคำสอนของ ลัทธิศาสนาต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน คำสอนของพระองค์มี มากมายจนต้องจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ถึง ๙ หมวดใหญ่ เรียก ว่า “นวังคสัตถุศาสน์” ประกอบด้วย G). สุตตะ หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงธรรมด้วยเนื้อความ ที่จบเป็นเรื่องหนึ่งๆ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ เช่น มหา ปรินิพพานสูตร เป็นต้น รวมทั้งพระวินัยปิฎก และ นิทเทส (คัมภีร์อธิบายขยายความพุทธภาษิตเพิ่มเติม) ความรู้ประมาณ ๗๕ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา พุทธภารกิจเร่งสร้างครู
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More