การฝึกสติและความรู้ประมาณในชีวิตประจำวัน ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 168
หน้าที่ 168 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการฝึกสติและความรู้ประมาณในชีวิตประจำวัน โดยเน้นถึงโทษของตัณหาที่ก่อให้เกิดความทุกข์และผลกระทบที่มีต่อการใช้ชีวิต การตริตรองในการบริโภคปัจจัย 4 ช่วยให้บุคคลมีสติ ไม่ยึดมั่นถือมั่น และสามารถหลีกเลี่ยงการตกเป็นทาสของตัณหาได้ ในการฝึกควรยึดหลักธรรมและการปฏิบัติตนให้ดีเพื่อพ้นจากวัฏสงสารในที่สุด เช่น การมีความรู้ประมาณในการรับปัจจัย 4 เพื่อพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-โทษของตัณหา
-การมีสติในการบริโภค
-การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘
-การฝึกความรู้ประมาณในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ความเป็นอย่างอื่นตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ ภิกษุ รู้จักโทษนี้ รู้จักตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจาก ตัณหา ไม่มีความยึดถือ มีสติ พึงเว้นรอบ จากพระดำรัสนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่า ตัณหาจะเกิดขึ้น เพราะบุคคลขาดสติ ทำให้ขาดความรู้ประมาณในเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย หรือเพราะความอยากได้สมบัติจำนวนมากๆ เนื่องจากกลัวว่าสมบัติที่ได้มาแล้วจะสูญสิ้นไปด้วยภัยพิบัติ บุคคลที่ตกเป็นทาสของตัณหา ไม่รู้จักประมาณในเรื่อง การบริโภคปัจจัย ๔ (รวมทั้งเรื่องอื่นๆ) ในที่สุดก็จะติดนิสัย ละโมบโลภมาก มีพฤติกรรมเบียดเบียนผู้อื่นอย่างไร้ความ ละอาย ซึ่งนอกจากจะเป็นการก่อทุกข์และสั่งสมบาปอย่างต่อ เนื่องแล้ว ยังจะต้องติดอยู่ในคุกตลอดกาลนาน ในทำนองกลับ กันบุคคลที่ตระหนักในโทษภัยของตัณหา แล้วพยายามอบรม ตนให้มีสติอยู่เสมอ รู้จักประมาณการบริโภคอุปโภคเป็นอย่างดี ไม่ยึดมั่นถือมั่น ย่อมประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติมรรคมี องค์ ๘ จึงพ้นจากวัฏสงสารได้ในที่สุด ๓. โจทย์ข้อสาม คือหลักธรรมสำหรับฝึกความรู้ ประมาณการบริโภคปัจจัย ๔ มีอะไรบ้าง ค่าตอบก็คือ มีบทฝึกความรู้ประมาณในชีวิตประจำวันอยู่ ๔ ประการ คือ ๑) บทฝึกพิจารณาความรู้ประมาณในการรับปัจจัย ๔ การฝึกความรู้ประมาณเพื่อพานักโทษแหกคุก ๑๕๔ ออกจากวัฏสงสาร ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More