ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
ไม่มีถอนถอย และการที่ใจจะหยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกายได้นั้น
ก็ต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ในชีวิตประจำวันอย่างครบถ้วน
และต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ตลอดวันและตลอดคืน ที่เรียกว่า
อปัณณกธรรม นั่นเอง
๒. การสร้างคนในยุคกลางพุทธกาล
ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการบัญญัติพระวินัยนั้น พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าได้ทรงก้าหนดให้พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ท่า
หน้าที่เป็นผู้ฝึกนิสสัย ๔ และอปัณณกธรรม ๓ ให้แก่ศิษย์โดย
ทรงกำหนดไว้ใน อุปัชฌายวัตร และ อาจาริยวัตร” ซึ่งเป็น
กิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่แฝงไว้ด้วยหน้าที่ ๒ ประการ คือ
๑) เป็นต้นแบบความประพฤติที่ดีงามและความรับ
ผิดชอบส่วนรวมของสงฆ์ให้กับพระลูกศิษย์
๒) เป็นอาจารย์อบรมสั่งสอนให้พระลูกศิษย์รู้จักการ
ดำรงชีวิตด้วยนิสัย ๔ รวมทั้งการสำรวมอินทรีย์ การรู้
ประมาณในโภชนาหาร และการหมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนา
โดยพระองค์ทรงกำหนดงานต่างๆ ไว้ในกิจวัตรประจำวัน
ตั้งแต่ตื่นนอนก่อนรุ่งสางจนกระทั่งเข้านอนในตอนดึก อีกทั้งยัง
กำหนดการงานในแต่ละช่วงชีวิตไว้อย่างละเอียดลออ เช่น ใน
ยามเจ็บไข้ได้ป่วย หากพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ หรือพระลูก
ต้นเหตุอุปัชฌายวัตร, วิ.ม. ๖/๒๗/๑๓๖ (มมร.)
๒ อาจารย์และอันเตวาสิก, วิ.ม. ๖/๙๒/๑๗๔ (มมร.)
ความรู้ประมาณ C
รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
พุทธกิจเร่งสร้างคน