ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
๕) การแก้ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจําวัน ต้องเริ่มต้น
ที่ฝึกการควบคุมตัณหา เพราะกิเลสอาศัยการบีบคั้นใจให้เกิด
ตัณหา คือความอยากได้ อยากมี อยากเป็นในทางที่ผิดๆ ทำให้
ต้องดิ้นรนแสวงหาในทางที่ผิดๆ ดำเนินชีวิตในทางที่ผิดๆ กลาย
เป็นการก่อกรรมชั่ว ที่ทำให้เกิดปัญหาทุกข์ยากต่างๆ ตามมา
ไม่รู้จบ จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดติดอยู่ในวัฏสงสารไม่รู้จบสิ้น
5) การควบคุมตัณหาต้องเริ่มต้นที่ฝึกความรู้
ประมาณก่อน โดยเฉพาะความรู้ประมาณในปัจจัย ๔ เพราะ
กิเลสที่บีบคั้นใจให้เป็นทุกข์ได้ ก็เพราะอาศัยความไม่รู้ประมาณ
ในปัจจัย ๔ เป็นแดนเกิดของตัณหา หากฝึกให้รู้จักความรู้
ประมาณก่อน ก็จะไม่เปิดช่องให้กิเลสบีบคั้นใจได้ ทำให้ตัณหา
ไม่กำเริบขึ้นมา ความรู้สึกที่จะดิ้นรนแสวงหาปัจจัย ๔ ในทางที่
ผิดๆ เพื่อมาใช้อย่างฟุ้งเฟ้อสุรุ่ยสุร่าย หรือเกินความจำเป็นก็จะ
ไม่เกิดขึ้น ทำให้แก้ไขปัญหาทุกข์ในชีวิตประจําวันได้ลงตัว ใน
แต่ละวันจึงจะมีเวลาศึกษาและปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อ
ฝึกฝนอบรมตนเองให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารตามพระองค์ไปได้
๗) การจำแนกธรรมและการจำแนกคนให้มีความ
สอดคล้องกัน เป็นวิธีการอธิบายให้ชาวโลกเข้าใจเรื่องการปราบ
กิเลสอันเป็นต้นเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้เร็ว
ที่สุด เพื่อที่เวลาแสดงธรรม จะได้คัดเลือกธรรมะที่มีความเหมาะ
สมกับนิสัยใจคอ สติปัญญา และสภาพปัญหาทุกข์ของผู้ฟัง
แต่ละคน
รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
ความรู้ประมาณ ๒๕
สภาพการณ์ที่ยากลำบากของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า