ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 126
หน้าที่ 126 / 188

สรุปเนื้อหา

ความเป็นเอกภาพของหมู่สงฆ์ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในยามอันตราย สมาชิกจะร่วมมือกันปกป้ององค์กรและไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เพื่อให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ไปได้อย่างสง่างาม อปริหานิยธรรมข้อที่ 3 ว่าด้วยการไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ควรบัญญัติ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาความมั่นคงให้แก่องค์กรศาสนา โดยเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญที่เป็นโครงสร้างกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งไม่ควรถูกแก้ไขตามใจชอบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสนและไร้ระเบียบในสังคม

หัวข้อประเด็น

-อานุภาพแห่งความเป็นเอกภาพ
-อปริหานิยธรรมข้อที่ 3
-การรักษาความมั่นคงในพระพุทธศาสนา
-เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ
-ผลกระทบหากไม่มีระเบียบวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ขณะเดียวกัน หากในยามใดที่มีภัยอันตรายมากล้ำกราย สมาชิกทั้งหมดต่างก็พร้อมใจกันพิทักษ์รักษาองค์กรให้ผ่านพ้น อุปสรรคและวิกฤตอันตรายไปได้อย่างปลอดภัยและสง่างาม โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากใดๆ ทั้งสิ้น นี่คืออานุภาพ แห่งความเป็นเอกภาพของหมู่สงฆ์ ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนามี ความมั่นคงเป็นปึกแผ่นยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน อปริหานิยธรรมข้อที่ ๓ “ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามสิกขาบทที่ พระองค์ทรงบัญญัติไว้” สำหรับข้อนี้ถือเป็นความมั่นคงสูงสุดของพระพุทธศาสนา เปรียบเหมือนประเทศชาติจะมั่นคงสูงสุดก็ต้องมีบทบัญญัติที่ เรียกว่า รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแม่บทกฎหมายสูงสุดที่ทุกคนต้อง ยึดถือปฏิบัติตามนั้น ใครจะละเมิดมิได้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตามใจชอบมิได้ เพราะรัฐธรรมนูญคือโครงสร้างของระบอบการ ปกครองประเทศ การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามใจชอบ ก็คือการ ทำลายโครงสร้างระบอบการปกครองของประเทศโดยตรง ซึ่งจะ เป็นเหตุให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ไร้ระเบียบวินัยขึ้นในสังคม และประเทศชาติ อันจะนำพาบ้านเมืองไปสู่ความล่มสลายใน ทีสุด พระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้เป็น ศาสดาแทนพระองค์ก็เปรียบได้กับรัฐธรรมนูญของพระพุทธ ศาสนา การแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระธรรมคำสอนตามใจชอบ พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง ความรู้ประมาณ ๑๑๒ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More