การฝึกอบรมจิตใจตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 165
หน้าที่ 165 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการฝึกอบรมตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้ประมาณในการใช้ชีวิต ความอยากและตัณหาเป็นอุปสรรคที่นำไปสู่วัฏสงสาร การปลดแอกจิตใจให้พ้นจากอำนาจของกิเลสจึงต้องเริ่มจากการควบคุมความอยากและรู้จักใช้ปัจจัย ๔ อย่างเหมาะสม เข้าใจลักษณะของกิเลสที่ควบคุมจิตใจมนุษย์และผลที่ตามมาที่อาจทำให้ชีวิตมีปัญหามากมาย.

หัวข้อประเด็น

-หลักอริยมรรคมีองค์ ๘
-การควบคุมความอยาก
-ปัจจัย ๔ และการใช้ชีวิต
-การปลดแอกใจจากกิเลส
-ปัญหาของชีวิตที่เกิดจากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org คำตอบก็คือ พระองค์ทรงเริ่มต้นด้วยการฝึกอบรมคนให้ ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ไว้สู้กับทุกข์ในชีวิตประจำวัน สู้กับ มาร ๕ ฝูง สู้กับการถูกพญามารคุมขังด้วยการฝึกความรู้ ประมาณในการบริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ ตามความจำเป็น ของชีวิต พระองค์ทรงทราบดีว่า เครื่องมือที่ผูกมัดชาวโลกเอาไว้จน ดิ้นไม่หลุด ดุจเดียวกับบ่วงแร้วที่นายพรานใช้ดักสัตว์ ก็คือ ความอยาก หรือตัณหาซึ่งสืบเนื่องจากกิเลสที่ควบคุมบีบคั้น จิตใจชาวโลกให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส อ่อนด้อยด้านปัญญา จึงมี แต่ปัญหามากมายตลอดชีวิต การที่จะปลดแอกใจของตนเองให้ พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา ก็ต้องฝึกควบคุมความอยากให้ ได้เป็นอันดับแรก แต่โดยเหตุที่ภาระหนักของมนุษย์เราก็คือ ต้องแสวงหาปัจจัย ๔ มาหล่อเลี้ยงชีวิตของตนเอง กิเลสจึง อาศัยช่องทางนี้เข้าควบคุมใจไว้อย่างเหนียวแน่น ทำให้มนุษย์ คุ้นกับความอยาก หรือตัณหา จึงไม่รู้สึกตัวว่า ตนกำลังถูกกิเลส ควบคุมใจไว้จนมืดสนิท ไม่มีปัญญารู้ว่าพฤติกรรมละโมบโลภ มากของตนนั้นเป็นกรรมชั่ว เป็นบาป เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ทางอ้อม และเป็นเหตุให้ต้องติดอยู่ในวัฏสงสาร หรือจะเรียกว่า คุก อย่างไม่รู้จบ กิเลสมีวิธีควบคุมใจมนุษย์ ๒ วิธี คือ ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ๑๕๑ การฝึกความรู้ประมาณเพื่อพานักโทษแหกคุก ออกจากวัฏสงสาร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More