การรับและการใช้ปัจจัย ๔ เพื่อชีวิตที่ดี ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 129
หน้าที่ 129 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการรับและการใช้ปัจจัย ๔ ตามความจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นภาระของประชาชนและควบคุมกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ส่งเสริมให้ประชาชนมีวิธีดำเนินชีวิตที่ดีและเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง แต่ก็มีการเตือนถึงปัญหาจากความไม่รู้ประมาณในการใช้ปัจจัย ๔ ที่อาจส่งเสริมกิเลส เช่น ความอยากมีอยากได้ และสามารถนำไปสู่วิบากกรรมที่ทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิตได้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากการปล่อยให้ความอิจฉาและตัณหาเข้ามาครอบงำจิตใจในหมู่สงฆ์ซึ่งอาจนำไปสู่ความแตกแยกในชุมชน การส่งเสริมการฝึกอบรมตนเองเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า

หัวข้อประเด็น

-การใช้ปัจจัย ๔
-การควบคุมกิเลส
-การสร้างชีวิตที่ดี
-ปัญหาจากตัณหา
-การฝึกอบรมในหมู่สงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org การรับและการใช้ปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นของชีวิต เพื่อไม่ให้ เป็นภาระของประชาชน เพื่อควบคุมกิเลสไม่ให้กำเริบเสิบสาน และเพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตที่ดีงามให้กับประชาชน อัน จะส่งผลให้ประชาชนเกิดความศรัทธามั่นคงต่อพระพุทธศาสนา อย่างสม่ำเสมอไม่เสื่อมคลาย ความไม่รู้ประมาณในการรับและการใช้ปัจจัย ๔ นี้เอง เป็นตัวการส่งเสริมกิเลส คือความอยาก หรือที่เรียกว่า ตัณหา ให้กำเริบเสิบสานขึ้นในใจคนเรา ทำให้เกิดความอยากมีอยากได้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่างๆ ต่อไปอีก ขณะเดียวกันก็ทำให้ เกิดความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ตามมาด้วย เมื่อได้เป็นอะไรสมใจ อยากแล้ว ครั้นต่อมารู้สึกเบื่อหน่ายก็ไม่อยากเป็นเช่นนั้นต่อไป ความอยากมีอยากเป็นและความอยากไม่มีไม่เป็นดังกล่าวแล้วนี้ ล้วนเป็นเหตุให้คนเราก่อกรรมทำชั่วต่างๆ นานา ทำให้เกิด ปัญหาทุกข์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันตามมาอีก และกลายเป็น วิบากกรรมที่ทําให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอย่าง ไม่รู้จบสิ้น หมู่สงฆ์ใดก็ตามที่สมาชิกส่วนใหญ่ปล่อยให้ตัณหาท่วมใจ ก็จะถูกอำนาจตัณหาบีบคั้นให้เกิดความคิดอิจฉาริษยากัน ใส่ ร้ายป้ายสี ชิงดีชิงเด่นกัน ฟ้องร้องผู้ใหญ่ หรือยกตนข่มท่าน เพื่อแย่งชิงลาภสักการะและตำแหน่งในการปกครอง จนทำให้ เกิดความแตกแยกขึ้นภายในหมู่สงฆ์ การที่หมู่สงฆ์คณะใดสามารถฝึกฝนอบรมตนเองให้มีความ ความรู้ประมาณ ๑๑๕ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More