บทบาทของพระอรหันต์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 88
หน้าที่ 88 / 188

สรุปเนื้อหา

แม้ในยุคต้นพุทธกาล คำสอนในพระพุทธศาสนายังมีอยู่ไม่มาก แต่ด้วยคุณสมบัติแห่งความเป็นกัลยาณมิตร ๗ ประการของพระอรหันต์ ส่งผลให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผู้สมัครบวชเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วง ๒๐ พรรษาแรก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ได้เดินทางประกาศพระศาสนาอย่างกว้างขวาง จนถึงพรรษาที่ ๒๑ พระพุทธองค์ประทับจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาวัตถี ทำให้การเผยแพร่พระศาสนาเป็นไปอย่างมั่นคง มีการสร้างครูและพัฒนาความรู้เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของพระอรหันต์
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-การจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
-การสร้างครูในศาสนา
-สถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุคกลาง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org แม้ในยุคต้นพุทธกาล คำสอนในพระพุทธศาสนายังมีอยู่ น้อย แต่ด้วยคุณสมบัติแห่งความเป็นกัลยาณมิตรทั้ง ๗ ประการของพระอรหันต์นี้เอง ที่ทำให้สามารถเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาไปยังแว่นแคว้นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีผู้สมัครบวช เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ๒. การสร้างครูในยุคกลางพุทธกาลถึงยุคปลายพุทธกาล ๒.๑ สถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุครุ่งเรือง ในช่วง ๒๐ พรรษาแรกของการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเหล่าพระอรหันต์เดิน ทางไปประกาศพระศาสนาจนทั่วทุกแว่นแคว้น โดยไม่ประทับ จำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่ง จวบจนพรรษาที่ ๒๑ เมื่อถึงฤดูเข้า พรรษา พระพุทธองค์ก็เสด็จไปประทับจำพรรษาอยู่ที่เมือง สาวัตถี ณ สถานที่ ๒ แห่ง แห่งแรก ได้แก่ วัดพระเชตวัน ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทรงจำพรรษาอยู่ที่นี่พร้อมด้วยหมู่ พระภิกษุสงฆ์เป็นเวลา ๑๖ พรรษา แห่งที่สอง ได้แก่ วัดบุพ พารามของนางวิสาขา ทรงจำพรรษาอยู่ที่นี่พร้อมด้วยหมู่พระ ภิกษุสงฆ์เป็นเวลา ๙ พรรษา โดยประทับอยู่จำพรรษาสลับกัน ปีละแห่ง ในช่วงออกพรรษา พระองค์กับหมู่พระภิกษุสงฆ์ก็จะเสด็จ ออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อจาริกไปยังแว่นแคว้นต่างๆ เพื่อ ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายและมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป จวบจน พุทธภารกิจเร่งสร้างครู ความรู้ประมาณ ๗๔ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More