การบริหารหมู่สงฆ์เพื่อรักษาพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 122
หน้าที่ 122 / 188

สรุปเนื้อหา

การประชุมสงฆ์ในกรุงราชคฤห์ถูกเรียกโดยพระอานนท์ตามรับสั่งของพระพุทธเจ้า เพื่อมอบพระโอวาทเกี่ยวกับการบริหารองค์กรสงฆ์ โดยมีหลักการที่เรียกว่า 'ภิกขุ อปริหานิยธรรม ๗ ประการ' ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการนำไปใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของพระพุทธศาสนาในอนาคต. ความเข้มแข็งและการประชุมร่วมกันของสงฆ์นั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการปกป้องและรักษาศาสนาให้ยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

- การประชุมสงฆ์
- พระธรรมเทศนา
- การบริหารองค์กรสงฆ์
- อปริหานิยธรรม ๗ ประการ
- ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ต้องอาศัยความเข้มแข็งของหมู่สงฆ์เป็นปราการปกป้อง พระพุทธศาสนาให้รอดพ้นจากภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ อารามที่ภูเขา คิชกูฏ นอกกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ได้ทรงมีรับสั่งให้พระ อานนท์ พุทธอุปัฏฐากเรียกประชุมสงฆ์ด่วน โดยให้พระภิกษุ สงฆ์ที่อยู่ในกรุงราชคฤห์ทั้งหมด เดินทางมาประชุมพร้อมกันที่ ศาลาหอฉัน เพื่อรับฟังพระโอวาทสำคัญที่จะใช้เป็นหลักธรรมใน การบริหารองค์กรสงฆ์ให้สามารถดำรงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ ได้นานแสนนาน เมื่อพระภิกษุสงฆ์ทั้งกรุงราชคฤห์เดินทางมาประชุมพร้อม กันแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับบนพุทธอาสน์ แล้วแสดงพระ ธรรมเทศนาที่เป็นการสรุปหลักการบริหารหมู่สงฆ์ซึ่งทรงใช้ ทำงานมาตลอดพระชนม์ชีพเลยทีเดียว นั่นคือ “ภิกขุ อปริหานิยธรรม ๗ ประการ” ดังนี้ 9). ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ เสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนื่อง นิตย์ ประชุมกันมากครั้ง ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ เสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม มหาปรินิพพานสูตร, ที.ม. ๑๐/๑๓๖/๘๒-๘๓ (มจร.) พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง ความรู้ประมาณ ๑๐๘ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More