พระสูตรและคุณสมบัติของนักเผยแผ่ในพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 91
หน้าที่ 91 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับพระสูตรในพระพุทธศาสนา อย่างเช่น อัพภูตธรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงธรรมที่น่าทึ่ง และเวทัลละที่มีการถามตอบอย่างลึกซึ้ง หลังจากพระพุทธองค์มีการสังคายนาเพื่อจัดเรียงพระธรรมคำสอนเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งประกอบด้วยพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก นอกจากนี้ยังพูดถึงคุณสมบัติของนักเผยแผ่ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อบรมเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยใช้สัปปุริสธรรม ๗ ประการ

หัวข้อประเด็น

-พระสูตร
-คุณสมบัติของนักเผยแผ่
-การแสดงธรรม
-พระไตรปิฎก
-พุทธภารกิจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org の ๔. อัพภูตธรรม หมายถึง พระสูตรที่มีเรื่องอัศจรรย์อยู่ ในการแสดงธรรมครั้งนั้น เช่น ที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้ง หลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ใน อานนท์” ๙. เวทัลละ หมายถึง พระสูตรที่แสดงธรรมด้วยการ ถามและการตอบที่ลุ่มลึกยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ ซึ่ง ทำให้ผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพึงพอใจ เช่น มหาเวทัลลสูตร สักกปัญหสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร เป็นต้น ภายหลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้ มีการสังคายนาและจัดเรียงหมวดหมู่พระธรรมคำสอนหรือ นวังคสัตถุศาสน์ทั้ง 4 หมวดนี้ใหม่ กลายเป็นพระไตรปิฎก สืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก ๒.๓ คุณสมบัติของนักเผยแผ่ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ในช่วงเวลาที่คำสอนของพระองค์มีจำนวนมากถึง 4 หมวดนี้ นอกจากการส่งพระอรหันต์ออกไปทำหน้าที่เผยแผ่ พระพุทธศาสนาแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงเคี่ยวเข็ญ อบรมพระภิกษุที่ยังไม่บรรลุอรหัตผลให้มีคุณสมบัติของนัก เผยแผ่ โดยใช้หลักธรรมชุดหนึ่งคือสัปปุริสธรรม ๗ ประการ ธัมมัญญสูตร, อง สตฺตก ๓๗/๖๕/๒๓๖ (มมร.) ความรู้ประมาณ ๗๗ พุทธภารกิจเร่งสร้างครู รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More