ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
๒) โภชเน มัตตัญญุตา คือ ความรู้ประมาณในการ
บริโภคอาหาร หมายถึงมีปัญญารู้ว่าการบริโภคอาหารก็เพียง
เพื่อประทังชีวิตให้รอดตายไปได้ในแต่ละวัน เพื่อเติมธาตุ ๔ ให้
กับร่างกาย เพื่อดับความหิวกระหาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรค
ภัยไข้เจ็บ มิได้บริโภคเพื่อความเอร็ดอร่อยในรสอาหาร เพื่อ
ความอยากหล่ออยากสวย เพื่อความเลิศหรูมีหน้ามีตา ทั้งต้อง
ไม่บริโภคมากเกินไป โดยยึดหลักว่า หากรู้สึกว่าการรับ
ประทานอีก ๔-๕ คำ แล้วดื่มน้ำลงไปก็จะอิ่มพอดี ก็ให้หยุดรับ
ประทาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกะปริมาณอาหารในจานให้พอดี
เพื่อไม่ให้มีเหลือทิ้งเหลือขว้างอันเป็นความสิ้นเปลืองและเพาะ
นิสัยไม่ดีให้เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย เช่น ความมักง่าย ความ
เห็นแก่ตัว เป็นต้น
ผู้ที่ฝึกความรู้ประมาณในโภชนาหารอย่างสม่ำเสมอ ย่อม
ทำให้เกิดผลดี ๒ ทาง คือ ทางกายกับทางใจ ในด้านทางกาย
ย่อมทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจาก
การบริโภคเกินจำเป็น จากการตามใจปากตามใจท้อง หรือจาก
อาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นโทษต่อร่างกาย ในด้านทางใจย่อม
ทำให้กิเลสไม่สามารถอาศัยช่องทางที่ร่างกายถูกบังคับให้ต้อง
เติมธาตุ ๔ เล็ดลอดเข้ามาบีบคั้นใจให้เกิดความทุกข์ได้
ทำให้ใจไม่เกิดความอยากได้ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามอำนาจกิเลส
ทำให้ทุกข์ในชีวิตประจำวันลดลง อาศัยข้าวเพียงไม่กี่ทัพพีก็
ดำรงชีวิตอยู่ได้ ไม่เป็นภาระในเรื่องการเลี้ยงดูของชาวโลก เมื่อ
ความรู้ประมาณ
พุทธกิจเร่งสร้างคน ๔๖ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา