การปล่อยวางและการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 177
หน้าที่ 177 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเน้นการปล่อยวางจากอารมณ์และกิเลสที่ไม่จีรังอย่างกามราคะ ความพยาบาท และถีนมิทธะ การตระหนักถึงความชั่วร้ายของตนและการไม่ยึดติดกับความรู้สึกที่ทำให้ชีวิตมีทุกข์มากเกินความจำเป็น การบำเพ็ญภาวนาเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับความรู้สึกที่ไม่สร้างสรรค์และปล่อยให้ความคิดบวกเจริญเติบโตแทน.

หัวข้อประเด็น

- บำเพ็ญภาวนาเพื่อปล่อยวาง
- การเข้าใจความเปื่อยเน่าของกิเลส
- คำสอนเกี่ยวกับความพยาบาท
- การไม่ยึดติดกับความรู้สึกที่ทำให้เจ็บปวด
- การฝึกปฏิบัติธรรมเพื่อชีวิตที่สงบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org เพียงแค่หนังกำพร้า แต่เนื้อในนั้นก็เปื่อยเน่าเหมือนๆ กันหมด แม้แต่หนังกำพร้าที่แลดูว่าสวยงาม แท้จริงก็กำลังเปื่อยเน่าอยู่ ตลอดเวลา อย่าได้เสียเวลาไปตามคิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่เต็มไปด้วยความเปื่อยเน่าไม่จีรังยั่งยืนนั้น เลย เราควรรีบเร่งบำเพ็ญภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสคือกามราคะนี้ ให้หมดสิ้นจะดีกว่า อย่ามัวเสียเวลาหลงใหลไปกับกามราคะที่ ไม่มีวันอิ่ม ไม่มีวันจีรังยั่งยืนนี้อยู่เลย ๔.๒) ขัดขวางป้องกันการกำเริบของความพยาบาท เพราะได้ตระหนักถึงความจริงว่า คนเรานั้นไม่มีใครสมบูรณ์ พร้อม แม้แต่ร่างกายของเราเองก็ยังมีความเปื่อยเน่าไปเป็น ธรรมดา และเมื่อถึงเวลาก็จะต้องหมดอายุขัย หมดสิ้นลมหายใจ ทอดทิ้งสังขาร ตายจากโลกนี้ไปเหมือนๆ กันหมด มิต้องไปคิด ตามล้างตามผลาญกันให้เสียเวลา เราควรรีบเร่งบำเพ็ญภาวนา เพื่อกำจัดกิเลสคือพยาบาทนี้ให้หมดสิ้นจะดีกว่า อย่าเสียเวลา คิดผูกพยาบาทใครเพราะเป็นการก่อบาปก่อเวรไม่รู้จบรู้สิ้น ๔.๓) ขัดขวางป้องกันการกำเริบของถีนมิทธะ ความหดหู่เซื่องซึม เพราะได้ตระหนักถึงความจริงแล้วว่า ความหดหู่เซื่องซึม ความท้อแท้ท้อถอย เพราะความผิดหวังนั้น เป็นทุกข์และเสียประโยชน์อย่างยิ่ง หากจมปรักครุ่นคิดถึงความ ผิดหวังต่อไป ก็รังแต่จะทำให้ชีวิตอับเฉาไปเรื่อยๆ ตามธรรมดา ชีวิตของคนเราก็มีทุกข์มากเกินพอแล้ว ลำพังแค่ทุกข์จากความ เปื่อยเน่าของร่างกายเพียงอย่างเดียวก็มากเกินพอแล้ว เหตุใด ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา การฝึกความรู้ประมาณเพื่อพานักโทษแหกคุก သော ออกจากวัฏสงสาร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More