เส้นทางการสร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 114
หน้าที่ 114 / 188

สรุปเนื้อหา

พระพุทธศาสนาเริ่มต้นจากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้แพร่ขยายไปทั่วถึง ๑๖ แคว้นใหญ่ ด้วยการสร้างพุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่มีทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก. การประกาศธรรมของพระองค์มีลักษณะคล้ายการจุดประทีปในความมืด ซึ่งถูกส่งต่อและขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การรวมตัวกันเป็นพุทธบริษัทขนาดใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่พระองค์จะต้องสร้างความมั่นคงให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อรักษาและสงวนธรรมะเมื่อพระองค์ดับขันธปรินิพพาน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ แนวทางที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อการอยู่รอดในสังคม

หัวข้อประเด็น

- พุทธบริษัท ๔
- การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
- แนวทางการสร้างความมั่นคงพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org หญิงตามมาจํานวนมาก จนกระทั่งเกิดเป็นพุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นับเป็นพุทธสาวกที่เกิดขึ้น อย่างครบถ้วนทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ ทำให้พระพุทธ ศาสนาแพร่ขยายไปทั่วทั้ง ๑๖ แคว้นใหญ่ ๕ แคว้นเล็ก พระพุทธศาสนาในยุคพุทธกาลจึงมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอัน มาก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เริ่มต้นจากการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัม พุทธเจ้าเพียงลำพังพระองค์เดียว การประกาศธรรมของพระองค์จึงเปรียบเสมือนการจุดดวง ประทีปดวงแรกขึ้นในโลกที่มืดมิดสนิทมานานแสนนาน แล้วจุด ประทีปส่งต่อๆ กันไปคนแล้วคนเล่า จากหนึ่งเป็นสอง สองเป็น สี่ จุดต่อๆ ทับทวีคูณกันไปอย่างนี้ จนกลายเป็นความสว่างไสว ไปทั่ว เมื่อจำนวนพุทธบริษัท ๔ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยล้านพันล้านเช่น นี้ สิ่งที่พระองค์ทรงต้องรีบสร้างรีบทำเพื่อให้พระพุทธศาสนาคง อยู่ไปตราบนานชั่วกัลปาวสาน ก็คือ การเร่งสร้างความมั่นคง ให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธบริษัท ๔ มีความสามัคคี ปรองดอง มีผู้บรรลุธรรมตามอย่างต่อเนื่อง และสามารถปกป้อง ดูแลพระพุทธศาสนาให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้ (จากปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน ปัญหามาร ๕ ฝูง ปัญหา พญามาร) หลังจากที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว จากการศึกษาพบว่า การเร่งสร้างความมั่นคงของ พระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๔ แนวทาง คือ พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง ความรู้ประมาณ ๑๐๐ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More