ข้อความต้นฉบับในหน้า
www.kalyanamitra.org
๑) บีบบังคับใจมนุษย์ให้เกิดตัณหาโดยตรง เพื่อให้
หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหากามคุณ ๕ มาสนอง
ตัณหาจนไม่มีเวลาคิดเรื่องคุณธรรม และการสั่งสม
ความดีเพื่อตนเอง
๒) บีบบังคับด้วยความตาย ซึ่งเป็นเหตุให้มนุษย์จำเป็น
ต้องหาปัจจัย ๔ มาเลี้ยงชีวิต ทำให้หมดเวลาไปกับ
การทำมาหากิน เพื่อจะได้ไม่มีเวลาคิดหาหนทาง
แหกคุกแห่งวัฏสงสาร
เพื่อที่จะแก้ปัญหาการทำงานของกิเลสทั้ง ๒ วิธีนี้ ให้
สัมฤทธิผล พระพุทธองค์จึงทรงตั้งโจทย์ขึ้น เพื่อหาค่าตอบไว้
แก้ปัญหาด้วยพุทธวิธี ดังนี้ คือ
G).
โจทย์ข้อแรก คือทำอย่างไรจึงจะพานักโทษแหก
ออกจากคุกแห่งวัฏสงสารได้ โจทย์ข้อนี้เปรียบเหมือนปัญหา
สมการสองชั้น ก็คือ ทำอย่างไรกิเลสจึงจะบีบคั้นใจโดยตรงไม่
ได้และทำอย่างไรผู้คนจึงจะไม่ใช้เวลาให้หมดไปกับการทำมา
หากิน
คำตอบก็คือ การฝึกความรู้ประมาณ
เมื่อฝึกความรู้ประมาณจนเป็นปกตินิสัยประจำวันแล้ว ใจก็
จะไม่ซัดส่ายดิ้นรน เพื่อแสวงหาสิ่งต่างๆ เกินจำเป็นต่อชีวิตมา
สนองตัณหาของตน จึงไม่ตกเป็นทาสของกิเลส ไม่ตกเป็นทาส
ของตัณหา ทำให้มีเวลาคิดแสวงหาสัจธรรมในชีวิต มีเวลา
การฝึกความรู้ประมาณเพื่อพานักโทษแหกคุก
ออกจากวัฏสงสาร
ความรู้ประมาณ
๑๕๒
รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา