การสร้างสังคมที่มีความเป็นเอกภาพในพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 120
หน้าที่ 120 / 188

สรุปเนื้อหา

การวางโครงสร้างสังคมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดให้ทิศ 5 เป็นหน่วยย่อยสุดในการสร้างความรับผิดชอบและพลังศีลธรรม การรวมกันของทิศ 5 จะนำไปสู่สังคมที่มีความเป็นเอกภาพที่กลายเป็นกำแพงปกป้องพระพุทธศาสนา การผนวกกันของความรับผิดชอบทั้งในส่วนบุคคลและสังคมจะช่วยให้เกิดเครือข่ายคนดีที่สามารถพัฒนาสังคมอย่างแข็งแกร่งและยืนยาว.

หัวข้อประเด็น

- การสร้างสังคม
- ความรับผิดชอบ
- ทิศ 5
- เครือข่ายคนดี
- ศีลธรรมในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ในการวางโครงสร้างสังคมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง กําหนดให้ “ทิศ 5” เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสังคมด้วย เช่นกัน การที่แต่ละคนดูแลคนในทิศ 5 ของตนเองให้มีความรับ ผิดชอบทั้ง ๔ ประการได้ดีแล้ว เมื่อนำทิศ 5 ของแต่ละคนมา รวมกัน ก็จะกลายเป็นเครือข่ายคนดีที่มีความเป็นเอกภาพ b สังคมที่มีความเป็นเอกภาพของคนดีเช่นนี้ คือ ย่อมกลาย เป็นสังคมที่มีพลังของศีลธรรม เป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่น ขึ้นมาทันที เพราะทุกคนต่างมีพลังของความรับผิดชอบต่อศีล ธรรมอยู่ในตนเอง นั่นคือ ยิ่งทิศ 5 ของแต่ละคนตั้งมั่นอยู่ใน ความดีมากเพียงใด ก็จะกลายเป็นเครือข่ายคนดีที่เป็นกำแพง ปกป้องดูแลพระพุทธศาสนาให้มีอายุยืนยาวได้นานเพียงนั้น เปรียบเหมือนการนำแท่งลูกบาศก์รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีหน้า เรียบเสมอกันทั้ง 5 ด้าน มาก่อเป็นปราการแห่งความดีเพื่อให้ พระพุทธศาสนามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป สังคมที่มีปราการแห่งความเข้มแข็งด้านศีลธรรมของ ตนเอง ศีลธรรมของสังคม ศีลธรรมของเศรษฐกิจ และการสร้าง เครือข่ายคนดีประจำทิศ 5 เช่นนี้ ย่อมมีศักยภาพมิใช่เพียงแค่ การสร้างคนดีสืบต่อๆ กันไปจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เท่านั้น แต่ยังพัฒนาสังคมให้มีความแข็งแกร่งด้านศีลธรรม ไว้ ปกป้องดูแลพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยืนยาวต่อไปตราบนานเท่า นานอีกด้วย พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง ความรู้ประมาณ ๑๐๖ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More