การฝึกอบรมเพื่อดับทุกข์และปราบกิเลส ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 71
หน้าที่ 71 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สรุปหลักการฝึกอบรมพระภิกษุเพื่อการบรรลุฌานและการปราบกิเลส โดยชี้ให้เห็นว่าการสร้างคนในพระพุทธศาสนาเน้นการฝึกตนเองและการช่วยผู้อื่นในการพ้นทุกข์ โดยการฝึกตามหลักที่กำหนด เพื่อสร้างคนให้มีจิตใจใหญ่และมีความพอเพียงในชีวิต เช่นเดียวกับต้นไม้ที่มีความแข็งแรงแม้จะมีน้ำมากน้อย.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกอบรมพระภิกษุ
-การปราบกิเลส
-อริยมรรค
-การดำรงชีวิตอย่างรู้ประมาณ
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ๔) ฝึกให้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ฝึกให้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ๖) ฝึกให้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ๗) ฝึกให้บรรลุฌานที่ ๑-๔ เมื่อพระองค์ทรงสรุปหลักสูตรการฝึกอบรมพระภิกษุเสร็จ แล้ว ก็ทรงชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้พระองค์จะทรงมีพระมหากรุณาที่ จะช่วยชาวโลกให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏ สงสารมากเพียงใดก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงช่วยเหลือได้เพียง การเป็นผู้ชี้หนทางปราบกิเลสเท่านั้น ผู้มุ่งเดินทางออกจากวัฏ สงสารจะต้องลงมือปราบกิเลสเอง จะปราบกิเลสได้สำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับกำลังความเพียรของตนเองในการปฏิบัติอริยมรรคมี องค์ ๘ โดยฝึกตนตามบทฝึกทั้ง ๗ ขั้นตอนไปตามลำดับดังที่ สรุปไว้ จากพุทธภารกิจเร่งสร้างคนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็พอจะ สรุปได้ว่า การสร้างคนในพระพุทธศาสนานั้น แท้จริงก็คือ การ ฝึกคนให้ใหญ่ด้วยการปราบกิเลสในตนเอง ใหญ่ด้วยการแนะนำ ชักชวนผู้อื่นให้ปราบกิเลสด้วย ใหญ่ด้วยการดำรงชีวิตอย่างรู้ ประมาณในการบริโภคปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นของชีวิต อุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่อุดมด้วยกิ่งก้านสาขามากมาย แต่กิน น้ำน้อยและทนทรหดต่อสภาพดินฟ้าอากาศเหมือนต้นหญ้าใน ทะเลทราย บุคคลที่มุ่งมั่นฝึกฝนอบรมตนตามแนวทางนี้ ย่อม สามารถบรรลุธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ได้สําเร็จ ความรู้ประมาณ ๕๗ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา พุทธกิจเร่งสร้างคน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More