พระมหากัสสปะและการสถาปนาพระธรรมวินัย ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 137
หน้าที่ 137 / 188

สรุปเนื้อหา

พระมหากัสสปะเป็นพระเถระที่ยอมรับในพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ โดยมิได้ทะนงตน และได้ปฏิบัติตามวัตรอันควรในการเป็นพระสงฆ์ ด้วยการสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในระยะเวลาอันสั้นและเป็นที่ยกย่องในฐานะผู้เป็นเลิศในด้านการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย โดยเฉพาะโอวาท ๓ ประการที่พระบรมศาสดาได้มอบให้ ท่านยังเป็นประธานในการทำปฐมสังคายนาในการจัดระบบพระไตรปิฎกหลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-พระมหากัสสปะ
-การบำเพ็ญเพียร
-ธุดงควัตร
-พระธรรมวินัย
-การทำปฐมสังคายนา
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org พระมหากัสสปะตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์เป็นอย่างดี ท่านมิได้ทะนงตน แต่ได้กระทำวัตรปฏิบัติ ที่สมควรแก่การได้ครองผ้าสังฆาฏิของพระพุทธองค์ให้ยิ่งๆ ขึ้น ไปด้วยการสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ ในสำนักของพระพุทธองค์ และถือมั่นไว้ ๓ ประการตลอดชีวิต คือ ๑) ถือบังสุกุลจีวรเป็น วัตร ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๓) ถือการอยู่ป่า เป็นวัตร ท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พอรุ่งเช้าวันที่ 4 ก็บรรลุ ธรรมเป็นพระอรหันต์ ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔ พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านไว้ในฐานะผู้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้ง หลายในด้านธุดงควัตร ท่านจึงเป็นต้นแบบของการเคารพ ในพระธรรมวินัยอย่างที่ใคร ๆ จะหาข้อติเตียนไม่ได้ การบวชด้วยโอวาท ๓ ประการนี้ พระบรมศาสดาได้ ประทานการบวชให้เฉพาะพระมหากัสสปะเพียงรูปเดียวเท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาของโอวาทแล้ว ก็จะเห็นว่าเป็น โอวาทที่มีอุปการคุณต่อพระมหากัสสปะในการเก็บรวบรวมคำ สอนและเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๔๕ พรรษา ของพระพุทธองค์ไว้ทั้งหมด ครั้นเมื่อพระบรมศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว นอกจากท่านจะเป็นพระเถระ ผู้ใหญ่ที่มีพรรษากาลมากที่สุดแล้ว ยังเป็นผู้ที่ทราบความเป็นมา ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ที่ประชุมสงฆ์จึงมีมติยกย่องท่าน เป็นประธานการทำปฐมสังคายนา ซักถามฝ่ายพระธรรมและ ฝ่ายพระวินัย เพื่อจัดหมวดหมู่พระพุทธพจน์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ให้เป็นพระไตรปิฎก ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ๑๒๗ พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More