การบริโภคและการใช้สอยตามหลักพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 130
หน้าที่ 130 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสติในการบริโภคและใช้สอยตามความจำเป็น โดยไม่ปล่อยให้กิเลสตัณหามามีอำนาจเหนือจิตใจ ซึ่งจะส่งผลให้หมู่คณะมีความสงบเรียบร้อยและเป็นที่น่าศรัทธาของประชาชน ทำให้มีคนเข้ามาทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ส่งผลให้พระพุทธศาสนายังคงอยู่ต่อไป นอกจากนี้ยังเน้นความสำคัญของการบำเพ็ญภาวนาเพื่อฝึกอบรมจิตใจและรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่สงบ ภายใต้หลักอปริหานิยธรรมข้อที่ 5 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์และบรรลุมรรคผลนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-บริโภคอย่างมีสติ
-การใช้สอยตามหลักพระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของการทำภาวนา
-เสนาสนะป่า
-ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org รู้ประมาณในการบริโภค การใช้สอยปัจจัย ๔ ตามความจำเป็น ของชีวิต ไม่ทำสิ่งใดตามอำนาจกิเลสตัณหา หมู่คณะนั้นย่อมมี แต่ความสงบเรียบร้อย น่าเลื่อมใสศรัทธา ประชาชนย่อมอยาก เข้าใกล้ อยากฟังธรรม อยากปฏิบัติธรรม และยินดีทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยความเต็มใจ ทำให้วัดไม่ร้างเพราะ ประชาชนนิยมเข้ามาทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาอย่าง ต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ อย่างมั่นคงเรื่อยไป อปริหานิยธรรมข้อที่ 5 “ยินดีในเสนาสนะป่า” สําหรับข้อนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกในองค์กรมุ่งการ นําเพ็ญภาวนาเพื่อปราบกิเลสให้หมดสิ้น อันเป็นเป้าหมายสูงสุด ของการบวชในพระพุทธศาสนา และเป็นการสานต่ออุดมการณ์ ยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้น ทุกข์ด้วยการบรรลุมรรคผลนิพพาน ความดีงามและความเจริญรุ่งเรืองของหมู่สงฆ์ขึ้นอยู่กับ การฝึกอบรมจิตใจด้วยการบำเพ็ญภาวนา ถ้าหากหมู่สงฆ์ละทิ้ง การทำภาวนาเมื่อใด พระพุทธศาสนาก็ถึงแก่กาลเสื่อมเมื่อนั้น เพราะไม่มีผู้บรรลุธรรมแม้ระดับต้นๆ ตามคำสอนของพระพุทธ องค์ สิ่งจําเป็นในการบำเพ็ญภาวนานั้นก็คือการอยู่ในสิ่ง แวดล้อมที่สงบวิเวก กลางวันไม่มีคนพลุกพล่าน กลางคืนปราศ จากเสียงรบกวน สถานที่แบบนี้ก็คือป่านั่นเอง ความรู้ประมาณ พุทธภารกิจเร่งสร้างความมั่นคง ๑๑๖ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More