การเป็นครูในพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา หน้า 109
หน้าที่ 109 / 188

สรุปเนื้อหา

การเป็นครูในพระพุทธศาสนาต้องฝึกฝนตนเองในสองด้าน คือ การเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตและการเป็นกัลยาณมิตร การศึกษาในยุคพุทธกาลพบว่าพระอรหันต์สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่ให้ความเข้าใจและศรัทธา ฝ่ายครูในยุคปัจจุบันต้องปฏิบัติตามคุณธรรม เพื่อชักชวนผู้คนให้กำจัดกิเลสและบรรลุพระนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

- คุณสมบัติครู
- บทบาทของกัลยาณมิตร
- การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- คุณธรรมในการอบรมตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

www.kalyanamitra.org ๒. ผู้ที่จะเป็นครูผู้อื่นได้ต้องเป็นผู้ที่ฝึกฝนอบรม ตนเองให้ได้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ ๑) เป็นต้นแบบการ ดำเนินชีวิตได้ และ ๒) เป็นกัลยาณมิตรให้กับผู้อื่นได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้อาจสังเกตได้จาก การที่พระธรรมคำสอนใน ยุคต้นพุทธกาลยังมีไม่มาก แต่ก็สามารถบุกเบิกงานเผยแผ่ พระพุทธศาสนาให้ขยายไปทั่วทุกแคว้นได้ โดยอาศัยศีลาจารวัตร อันงดงามและความเป็นกัลยาณมิตรของพระอรหันต์เป็นต้นแบบ นำความรู้และประสบการณ์ที่ท่านฝึกฝนอบรมตนเองมาจน กระทั่งหมดกิเลส มาเป็นหลักในการอธิบายขยายความพระ ธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ประชาชนเกิดความ เข้าใจถูกต้อง เกิดความเลื่อมใสศรัทธา พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติ เป็นกิจวัตรจนสามารถบรรลุธรรมได้ ส่วนในยุคที่พระธรรมคำสอนมีมากแล้ว การเคี่ยวเข็ญฝึก อบรมพระภิกษุรูปใดขึ้นมาเป็นครูบาอาจารย์ แม้ว่าภิกษุรูปนั้น จะยังไม่หมดกิเลส ก็ยังทรงกำหนดว่าต้องยึดปฏิบัติตามสัปปุริสธรรม ๗ ประการ โดยคุณธรรม ๔ ข้อแรก คือ ธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู มีไว้เพื่อฝึกตนเองให้หมด กิเลส และเพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตให้ชาวโลก ส่วน คุณธรรม ๒ ข้อสุดท้าย คือ ปริสัญญู และบุคคลปโรปรัญญู มีไว้ เพื่อทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรแนะนำชักชวนชาวโลกให้กำจัด กิเลสออกจากใจให้หมดสิ้น บรรลุพระนิพพาน รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ความรู้ประมาณ ๙๕ พุทธภารกิจเร่งสร้างครู
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More