การบวชและการศึกษาในพระพุทธศาสนา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 12
หน้าที่ 12 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญในการตั้งเป้าหมายที่ถูกต้องในการศึกษาเพื่อการบวชเป็นพระ โดยระบุว่าความสำเร็จที่แท้จริงของการศึกษาไม่ได้อยู่ที่การสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค แต่คือการนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและช่วยเหลือผู้อื่นให้เข้าถึงธรรมตามรอยบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีความมุ่งหมายเพื่อกำจัดทุกข์และสร้างบารมีร่วมกัน.

หัวข้อประเด็น

-การบวชเป็นพระ
-เป้าหมายการศึกษา
-พระพุทธศาสนา
-การเรียนบาลี
-พระนิพพาน
-การสร้างบารมี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บวชเป็นพระแล้ว อย่าเอาเปรียบญาติพี่น้อง 8 เมษายน พ.ศ. 2554 พวกเราก็อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ กันฃับชีวิตสมณะกันมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะแต่ละรูปได้ฝากภาระงานต่างเป็นมหาเปรียญกันทุกรูป วันนี้หลวงพ่อก็อยากจะขอฝากเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดของการตั้งเป้าหมายการศึกษาที่มีผลโดยตรงกับการบวชของเรา คือถ้าเราตั้งเป้าหมายผิด วันใดที่เรียนจนเปรียญธรรม 9 ประโยค ชีวิตสมณะก็จะกลายเป็นความว่างเปล่า ความมั่นเพียรศึกษาก็จะกลายเป็นความว่างเปล่า ญาติโยมที่ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาก็จะรู้สึกว่ากลายเป็นความสุขเปล่าเช่นกัน สิ่งที่ต้องจดจำให้ขึ้นใจคือ ที่สุดของการศึกษาไม่ได้ส้นสุดที่เปรียญธรรม 9 ประโยค แต่ที่สุดของการศึกษา คือ เราสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ม่าใช้พาตนเองและญาติโยมให้เข้าสู่ธรรมตามรอยบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปด้วยกัน โดยเฉพาะการทำพระนิพพานให้แจ้ง แสงบุญ และสร้างบารมีให้เป็นทีม เรียนพระบาลีเพื่อกำจัดกองทุกข์ให้สิ้นไป เรื่องนี้หลวงพ่อจึงอยากเตือนใจพวกเราไว้ตั้งแต่วันแรกที่บวชเป็นพระภิกษุ เพราะเท่าที่เห็นการเรียนบาลีอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่จะมุ่งสอบ www.kalyanamitara.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More