การตักเตือนและการให้โอภัยในพระพุทธศาสนา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 122
หน้าที่ 122 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการตักเตือนและการให้อภัยในบริบทของพระพุทธศาสนา ผู้ที่ได้รับการตักเตือนควรขอบคุณและพิจารณาว่าสิ่งที่ถูกเตือนไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่เพื่อให้แต่ละคนได้ปรับปรุงตนเอง หากการเตือนนั้นไม่ถูกต้อง ควรให้อภัยผู้ที่ตักเตือน เพราะเขายังมีความปรารถนาดีอยู่ การกระทำเช่นนี้จะสร้างความสุขในหมู่คณะ และช่วยให้การประพฤติดีปฏิบัติธรรมก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจในพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์จากใจและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ทำให้พุทธบริษัทมีความงามและความเลื่อมใสอย่างแท้จริงในประเพณีอันดีงามที่เราควรยึดถือ

หัวข้อประเด็น

-การตักเตือน
-การให้อภัย
-พระพุทธศาสนา
-ความปรารถนาดี
-การพัฒนาตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาศัยความเป็นดู มีกำลังใจสูง และมีความปรารถนาดีอย่างเต็มเปี่ยมจริง ๆ จึงจะกล้าฝากที่จะนํ้าตักเตือนให้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้รับการนํ้าตักเตือน โปรดทราบความรู้สึกของผู้เตือนว่า เขามีความรู้สึกเช่นนี้ และที่ชี้มาพร้่องทรัพย์ให้ก็ไม่ได้ทำเพื่อใคร ก็เพื่อ ตัวของผู้ที่ถูกเตือนนั่นเอง ขอบคุณสักนิด และพร้อมคิดให้อภัย เมื่อเราได้รับการแนะนําตักเตือนแล้ว สิ่งที่เราควรทำอย่างยิ่ง คือคำว่า “ขอบคุณ” แล้วหันมาพิจารณาตัวเราว่า สิ่งที่เขาเตือนนั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องเราก็ปรับปรุงตัวเสียใหม่ ถ้าหากไม่ถูกต้องเราก็ให้อภัยผู้ที่ตักเตือน เพราะการแนะนําตักเตือนในบางครั้งอาจยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากผู้เตือนเห็นไม่ครบทุกด้าน แต่ฉันใด ก็ถามในคำแนะนําตักเตือนนั้นมีความปรารถนาดีอยู่ ผู้ที่ได้รับการตักเตือนจึงควรให้โอภัย ถ้าเราทำกันได้อย่างนี้ หมู่คณะก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การประพฤติดีปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้า ต่างเป็นกำลังใจ ต่างช่วยกันขัดเกลากายวาจาใจซึ่งกันและกัน ผลที่ได้คือความบริสุทธิ์จากใจของหมู่คณะ เป็นความงามของพระพุทธศาสนา เป็นความเลื่อมใสของพุทธบริษัท และเป็นประเพณีอันดีงามที่เราควรยึดถือปฏิบัติกันอย่างจริงจัง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More