การทำพระนิพพานให้แจ้ง ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 196
หน้าที่ 196 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการทำใจให้นิ่งและหยุดอยู่ที่กลางกายฐานที่ 7 เพื่อเข้าถึงพระธรรมกายและพระนิพพาน พร้อมทั้งเตือนให้ผู้เข้าบวชทุกคนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการบวช เพื่อใช้ชีวิตตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและช่วยประคับประคองกันสู่จุดหมายเงียบสงบในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-การทำใจให้นิ่ง
-ความสำคัญของการบวช
-การเข้าถึงพระธรรมกาย
-วันมหาปวารณา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะฉะนั้น เมื่อจะรับฟังธรรมดี โอวาทดี หรือจะปฏิบัติภารกิจอันใดก็ดี ใจจะต้องจดหยุดนั่งอยู่ที่ตรงกลางกายฐานที่ 7 ให้ได้ตลอดเวลาจึงจะเป็นนักบวชที่สมบูรณ์ ในวาระนี้เป็นวาระที่เราจะได้มะลึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อม ๆ กัน ก็จะต้องเอาใจของเราหยุดไว้ตรงกลางกายฐานที่ 7 ซึ่งเป็นทางที่เราจะเข้าถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในตัวของเรา คือ พระธรรมกาย จนกระทั่งเข้าไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านดับขันปรินิพพานนานมาแล้ว มีพระธรรมกายปรากฏอยู่ในอายตน นิพพานนับแสนไขพระองค์ไม่ถ้วน ดังนั้นทำใจให้หยุดในหยุด หยุดให้นิ่ง ๆ ให้ใจใส ๆ ใจสบาย ให้ใจปราศจากอบายมุขล้วนมูล เดินตามรอยเท้าพ่อ วันนี้เป็นวันมหาปวารณา คือ วันที่เราทั้งหลายได้มาประชุมพร้อมกัน เพื่อที่จะช่วยประคับประคององค์รถึงกันและกันให้ไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตคืออายตนินพาน การปวารณากันในวันนี้ก็อาจการเป็นกลายณมิตรให้แก่นั้นเอง ลูกทุกบุตรที่เข้ามาบวช ไม่ว่าจะบวชในระยะสั้น บวชไปเรื่อย ๆ หรือปฏิญาณบวชตลอดชีวิตก็ได้มา เราต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่า วัตถุประสงค์ของการบวช คือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะฉะนั้นจะบวชระยะสั้นหรือบวชระยะยาวไม่สำคัญ สำคัญว่าจะต้องมีความเข้าใจอย่างนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More