ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 1
กัลยาณมิตรคือใคร
มนุษย์ที่เกิดมามีชีวิตอยู่ในโลกย่อมจะต้องมีการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นทั้งในลักษณะที่เป็นกลุ่มหรือเป็น
สังคมของมนุษย์ ซึ่งอาจจะใหญ่บ้างเล็กบ้าง โดยอยู่กันเป็นกลุ่มตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา หรือความเชื่อถือ
ทางศาสนาอย่างเดียวกัน และการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นเช่นนี้ เนื่องมาจากการที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กับ
เพื่อนมนุษย์ด้วยกันในรูปแบบต่างๆ เช่น มีความสัมพันธ์ในฐานะบิดา มารดา พี่น้อง หรือญาติสนิทมิตรสหาย
เป็นต้น ความสัมพันธ์ในฐานะต่างๆ ดังกล่าว จะมีผลต่อพฤติกรรม นิสัย การตัดสินใจ ตลอดจนการเลือก
ดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นๆ ให้เป็นไปตามสภาพแวดล้อมรอบข้าง ทั้งที่เป็นอิทธิพลมาจากบุคคลหรือ
สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติอื่นๆ หากการตัดสินใจเลือกดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นไปในทางที่ดี มีประโยชน์ทั้ง
แก่ตนเองและผู้อื่น อีกทั้งยังสามารถแนะนำบุคคลอื่นให้ดำเนินชีวิตในสิ่งที่ดีงามตามบุคคลนั้น ย่อมได้ชื่อว่า
เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งนอกจากจะเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองแล้ว ยังเป็นกัลยาณมิตรให้กับบุคคลอื่นด้วย
1.1 ความหมายของคำว่า “กัลยาณมิตร”
คำว่า “กัลยาณมิตร” มีความหมายต่างๆ ดังนี้
1.1.1 ความหมายโดยศัพท์
คำว่า “กัลยาณมิตร” มาจากคำว่า “กัลยาณ” สมาสกับคำว่า “มิตร” โดยพจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำ “กัลยาณ” ว่า งาม ดี และ “มิตร” หมายถึง เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย
ดังนั้น กัลยาณมิตรจึงมีความหมายว่า เพื่อนที่ดี เพื่อนที่งาม หรือเพื่อนที่รักใคร่คุ้นเคยที่ดี เพื่อนรักใคร่
คุ้นเคยที่งาม
1.1.2 ความหมายจากพระไตรปิฎก
คำว่ากัลยาณมิตรในพระไตรปิฎกนั้น ได้แสดงให้เห็นถึง ความเป็นกัลยาณมิตรและ
การเข้าหาบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า “กัลยาณมิตตตา” โดยพระองค์ทรงอธิบายถึง
“กัลยาณมิตตตา” หรือความเป็นกัลยาณมิตรและการที่จะเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
หน้า 108
หน้า 861
2
ดังความตอนหนึ่งที่ตรัสกับชายหนุ่มคนหนึ่งในทีฆชาณสูตร ว่า
* พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊กส์พับลิเคชั่นส์, 2546),
* พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊กส์พับลิเคชั่นส์, 2546),
4 DOU บทที่ 1 กั ล ย า ณ ม ต ร คือ อะไร