กัลยาณมิตรและคุณธรรมในบทบาทนักบวช DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น หน้า 16
หน้าที่ 16 / 142

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงบทบาทของนักบวชในการเป็นกัลยาณมิตรที่ไม่เพียงแค่ให้คำปรึกษา แต่ยังต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างจริงใจและช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน โดยมีการพิจารณาถึงความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากบุคคลอื่น การเป็นกัลยาณมิตรไม่ได้แค่เป็นเพื่อนธรรมดา แต่ต้องมีคุณธรรมในการนำทางสู่สิ่งที่ดีงามและถูกต้องตามหลักศีลธรรม การเลือกคบมิตรที่ดีไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการทำงาน แต่ยังช่วยให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก โดยสอนให้รู้จักทำความดีและหลีกเลี่ยงสิ่งที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม

หัวข้อประเด็น

-บทบาทนักบวช
-กัลยาณมิตรในสังคม
-การทำความดี
-การช่วยเหลือและสนับสนุน
-คุณธรรมและศีลธรรมในการเป็นเพื่อน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นักบวช นักบวชนั้นจะต้องให้คำสั่งสอนที่ดีงาม แม้อาจจะไม่ถูกใจแต่จะต้องถูกต้องตามหลักศีลธรรม หาใช่ การเพิ่มกิเลสขึ้นในตัวของผู้ที่เราจะไปเป็นกัลยาณมิตร เช่น การทำนายทายทักในสิ่งที่เราไม่รู้จริง การให้ เลขให้หวย ซึ่งแม้จะแม่นหรือไม่แม่น ก็ถือว่ายังมิใช่การทำหน้าที่กัลยาณมิตร และนักบวชที่ กระทำเช่นนี้ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตร 1.2.3 หากพิจารณาลักษณะกัลยาณมิตรโดยยึดหลักของการทำงานร่วมกัน หรือการมีชีวิต ความเป็นอยู่ร่วมกันผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรจะต้องมีการทำงานร่วมกันหรืออยู่ด้วยกันอย่างเอื้ออาทรต่างฝ่าย ต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความปรารถนาดีต่อกันอย่างจริงใจ เช่น หากเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียน จะต้องมี ความปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมชั้น ด้วยการเป็นคู่คิดในการส่งเสริมการเรียนซึ่งกันและกัน ชักชวนกันอ่าน หนังสือ ทบทวนความรู้ เพื่อการเรียนจะมีผลดีและสามารถศึกษาได้สำเร็จ หากเป็นคู่สมรสก็จะต้องมี ความซื่อสัตย์ต่อกัน ช่วยเหลือและรักษาน้ำใจซึ่งกันและกัน หากเป็นเพื่อนร่วมงาน บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น กัลยาณมิตรนั้นจะต้องช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยความปรารถนาดี คอยช่วยเหลือแนะนำและช่วยแก้ไข ในสิ่งที่อาจจะผิดพลาดพลั้งเผลอ เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องชักชวนกันทำความดีหรือขวนขวาย ในการทำ ความดีที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ถ้ากระทำได้เช่นนี้ ได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตร 1.2.4 หากพิจารณาลักษณะกัลยาณมิตรโดยยึดหลักของความเป็นผู้สม่ำเสมอ หรือความเสมอต้น เสมอปลาย ผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรนั้น จะต้องมีพฤติกรรมที่ดีอย่างสม่ำเสมอ หรือมีความเสมอต้นเสมอปลาย จนทำให้บุคคลทั้งหลายมีความมั่นใจว่า ผู้ที่มาเป็นกัลยาณมิตรให้นั้นน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ แม้กระทั่ง สามารถปรึกษาเรื่องส่วนตัวและหวังได้ว่าจะได้รับคำแนะนำที่ตนไม่อาจจะแก้ไขด้วยตนเองได้ เช่น ปัญหา สุขภาพ ปัญหาครอบครัว เป็นต้น จากลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ แสดงถึงความเป็นกัลยาณมิตรว่ามิใช่เพียงความเป็นเพื่อน หรือมิตรธรรมดา แต่เป็นมิตรหรือเพื่อนที่ดี แนะนำในสิ่งที่ดีงาม และชักชวนกระทำแต่ในสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม และในขณะเดียวกันการที่บุคคลจะมีกัลยาณมิตร หรือที่เรียกว่า “กัลยาณมิตตตา” นั้น จะต้องเป็นผู้ที่รู้จักเลือกคบหามิตรที่แนะนำหรือชักชวนเพื่อนให้ทำ แต่สิ่งที่ดีงาม ดังนั้นบุคคลใดที่ได้ชื่อว่ามีกัลยาณมิตรนั้น ย่อมจะมีชีวิตที่ประสบแต่ความเจริญ ดังความปรากฏ ใน พระไตรปิฎกที่กล่าวถึงการจะเป็นผู้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตนั้น จะต้องกระทำดังเรื่องราวต่อไปนี้ ครั้งเมื่อสมัยพุทธกาล ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกฬิยะ ชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกฬิยะ ครั้งนั้นมีชายคนหนึ่งชื่อว่า ทีฆชาณุ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า บท ที่ 1 กั ล ย า ณ ม ต ร คือ อะไร DOU 7
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More