ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดบุตร ใช้
จันทน์ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินและทองอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขใน
ปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในภายหน้าเถิด ฯ”
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อชายหนุ่มคนนี้ว่า
“ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม 4 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร
4 ประการเป็นไฉนคือ อุฏฐานสัมปทา 1 อารักขสัมปทา 1 กัลยาณมิตตตา 1 สมชีวิตา 1 ฯ”
จากประโยคดังกล่าวจะพบว่าการจะมีประโยชน์สุขในชีวิตปัจจุบันได้นั้น จะต้องประกอบด้วยธรรมะ
ประการหนึ่ง คือ “กัลยาณมิตตตา”
1.3 ประเภทของกัลยาณมิตร
กัลยาณมิตรสามารถจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
- กัลยาณมิตรในทางโลก
- กัลยาณมิตรในทางธรรม
กัลยาณมิตรในทางโลก
หมายถึงกัลยาณมิตรที่เป็นมิตรที่ดี คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ หรือสามารถเป็นที่พึ่งได้ในเรื่อง
ทั่วไปในทางโลก เช่น ให้คำแนะนำแก้ไขเรื่องปัญหาที่เกิดจากการทำงานในสถานประกอบการ หรือปัญหา
ในการประกอบอาชีพในลักษณะต่างๆ และการให้คำปรึกษาเรื่องความรู้วิชาการทางโลก เป็นต้น กัลยาณมิตร
ในทางโลกนี้ อาจจะให้การช่วยเหลือหรือแนะนำโดยให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน หรือการพัฒนาระบบ
การทำงานที่ดีขึ้น ความรู้ดังกล่าว เรียกว่าวิทยาทาน
กัลยาณมิตรในทางธรรม
หมายถึงกัลยาณมิตรหรือมิตรที่ดี ที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
ด้วยการนำธรรมะมาใช้ ซึ่งแตกต่างจากกัลยาณมิตรในทางโลกคือคำแนะนำสั่งสอน นอกจากจะก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่ชีวิตในทางโลกแล้ว ยังมุ่งเน้นเพื่อยกระดับจิตใจของผู้ได้รับคำแนะนำให้สูงขึ้น เช่น แนะนำให้
รู้จักการทำทาน การรักษาศีล และการทำสมาธิภาวนา เป็นต้น ซึ่งความรู้ที่นำมาแนะนำนี้ เรียกว่า ธรรมทาน
ทีฆชาณุสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 114 หน้า 560.
2 “พยัคฆปัชชะ แปลว่า “ทางเสือผ่าน” การที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกชายหนุ่มคนนี้ว่า “ดูกร พยัคฆปัชชะ...” แสดงว่า
พระองค์ทรงมีญาณทัสสนะที่สามารถรู้ได้ว่าชายหนุ่มคนนี้เป็นลูกหลานของชาวบ้านที่เคยอาศัยในเมืองซึ่งเคยเป็นทางเสือผ่านมาก่อน
จึงไม่เรียกชื่อตรงๆ
8 DOU
บท ที่ 1 ก ล ย า ณ ม ต ร คือ อะไร