ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ผู้ที่ยากจนกว่าข้าพระองค์ในเมืองนี้ไม่มี ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
พระบรมศาสดาทรงเปิดพระทวารพระคันธกุฎี ทรงนำบาตรประทานในมือของมหาทุคตะ
เขาเหมือนได้สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าแผ่นดินและราชกุมารต่างทรงแลดูพระพักตร์ซึ่งกันและ
กัน แม้พระราชาจะขอซื้อบาตร ด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง มหาทุคตะก็ไม่ยอมมอบบาตรของพระบรมศาสดาให้
เขาเดินนำพระบรมศาสดาไปถึงกระท่อมของตนแล้วจึงถวายภัตตาหาร
เมื่อพระบรมศาสดาเสร็จภัตกิจแล้ว ทรงทำการอนุโมทนา พอพระองค์เสด็จลุกจากอาสนะ
ทันใดนั้นฝนรัตนะทั้ง 7 ประการ ได้ตกลงมาจากอากาศเต็มไปทั่วเรือนของมหาทุคตะ พระราชาตรัสสั่งให้ขน
ทรัพย์มากองที่ลานหน้าพระราชวังในที่สุดก็แต่งตั้งให้มหาทุคตะเป็นเศรษฐีประจำเมืองตั้งแต่นั้นมาเขาทำบุญ
ตลอดอายุ ครั้นตายแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติอยู่ตลอดหนึ่งพุทธันดร
ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “พระสมณโคดม” ของเรานี้ มหาทุคตะบังเกิดใน
ตระกูลอุปัฏฐากของพระสารีบุตร พออายุได้ 7 ขวบ มีศรัทธาออกบวชและได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
ในกาลต่อมาไม่นานด้วยบุญที่ได้สั่งสมมาดีแล้วเพราะอาศัยจิตใจที่เปี่ยมด้วยความปรารถนาดีของบัณฑิตผู้เป็น
กัลยาณมิตรที่ได้ชักชวนเขาไว้ในกาลก่อน ดังนั้นจึงมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า
ของบุญ
การได้อัตภาพเป็นมนุษย์ก็ด้วยอานุภาพของบุญ
การเข้าถึงความเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีก็ด้วยอานุภาพของบุญ
การเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ หรือพระเจ้าจักรพรรดิก็ด้วยอานุภาพของบุญ
แม้การเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ด้วยอำนาจ
บุญจึงเป็นต้นเหตุแห่งความสุขและความสำเร็จตามความปรารถนาทั้งปวง
3.2.2 ลูกสะใภ้ยอดกัลยาณมิตร
ในสมัยพุทธกาล ณ เมืองอุคคะ มีเศรษฐีท่านหนึ่ง ชื่อว่า อุคคะ เป็นเพื่อนสนิทของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนหนังสือด้วยกัน วันหนึ่งท่านทั้งสองได้ตกลงกันว่า ภายภาคหน้า
เมื่อเราทั้งสองเจริญวัยมีครอบครัว และมีบุตรธิดาแล้ว หากผู้ใดขอลูกสาวเพื่อลูกชายตน ผู้นั้นก็ต้องให้ลูกสาว
เมื่อทั้งสองเรียนจบแล้วต่างก็ได้แยกย้ายกันไปครองตำแหน่งเศรษฐีอยู่ในเมืองของตน
ต่อมาอุคคเศรษฐี ได้เดินทางไปยังเมืองสาวัตถีด้วยเกวียน 500 เล่ม เพื่อทำการค้าขาย
พออนาถบิณฑิกเศรษฐีทราบข่าวการมาของสหาย จึงเรียกนางจุฬสุภัททาผู้เป็นธิดาของตนมาแล้วสั่งว่า
“ลูกเอ๋ย บิดาของเจ้าชื่ออุคคเศรษฐีได้เดินทางมายังเมืองของเราแล้ว กิจที่สมควรทำแก่เขา พ่อขอมอบให้เป็น
ซื้อบาตรคือการจ่ายทรัพย์เพื่อความมีสิทธิ์ในการรับบาตรไปถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
* ฉันภัตตาหาร
* อรรถกถาชาดก ติกนิบาตชาดก สิริชาดก, มก.เล่ม 58 หน้า 281-283.
* อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องนางจุฬสุภัททา, เล่มที่ 43 หน้า 182-186
บ ท ที่
3 ห ลั ก ธ ร ร ม ใ นการเป็นกัลยาณมิตร DOU 39