ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความเสื่อมเสีย ตั้งแต่เสียชื่อเสียง ทรัพย์สินเงินทอง งานการ ญาติมิตร และคุณงามความดีของตัวเอง
พลอยติดเชื้อพาล จากที่เคยเป็นคนดี กลายเป็นคนพาลไปด้วย
ดังเช่นเรื่องในอดีตกาล ที่กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นปุโรหิต คืออำมาตย์ที่ปรึกษาของ
พระราชาพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต มีช้างมงคลอยู่เชือกหนึ่ง ชื่อมหลามุข เป็นช้างใจดี ไม่เกะกะเกเร
ไม่เคยทําร้ายใคร
อยู่มาวันหนึ่ง มีโจรกลุ่มใหญ่ หลังจากปล้นชิงทรัพย์สินของชาวบ้านแล้ว ตกกลางคืนก็มา
ชุมนุมกัน ที่ข้างโรงช้างของพระราชา เพื่อปรึกษาหารือ นัดแนะกันว่า พรุ่งนี้ จะไปทำการตัดช่องย่องเบา
ที่ไหน ปล้นชิงอย่างไร ขุดอุโมงค์ตรงไหน จะทำร้ายเจ้าทรัพย์ด้วยวิธีใดจึงจะไม่มีใครต่อสู้ได้ และสอนวิชา
โจรให้กันว่า เราเป็นโจร ไม่ต้องมีมารยาท ไม่ต้องมีความเมตตา ต้องทำใจให้แข็งกระด้างเข้าไว้ ไม่ต้อง
สงสารใคร ต้องดุร้าย หยาบคาย ถึงจะทำงานในอาชีพโจรได้สำเร็จ
พวกโจรมาปรึกษาหารือกันแบบนี้ทุกคืน ช้างมหลามุขได้ยินบ่อยจนเข้าใจว่าเขาสอนให้ตนเองทำ
แบบนั้น คือสอนให้เป็นโจร ให้ดุร้าย ให้ทำร้ายผู้อื่น เลยอาละวาด คนเลี้ยงช้างมาที่โรงช้างแต่เช้าตรู่
ก็เอางวงจับเขาฟาดพื้นจนตาย เห็นใครผ่านมาฆ่าเขาตายหมด จนใครๆ เข้าใจว่า ช้างมหลามุขเป็นบ้าไป
แล้ว พากันไปกราบทูลพระราชา
พระราชาส่งพระโพธิสัตว์ไปดู หาต้นสายปลายเหตุของการเปลี่ยนแปลง ว่าทำไมช้างมงคลถึง
กลายเป็นช้างดุร้ายไปได้ ปรากฏว่า ช้างไม่ได้เป็นอะไรเลย
พระโพธิสัตว์ท่านเป็นบัณฑิต มีปัญญา ตรึกตรองดูแล้วสันนิษฐานว่า คงจะมีใครมาพูดอะไรให้
ช้างได้ยินเป็นแน่ จึงถามคนเลี้ยงช้างว่า ตอนกลางคืน เคยเห็นใครมาสนทนาหรือมาปรึกษาหารืออะไรกัน
ให้ช้างได้ยินบ้างไหม ได้รับคำตอบว่า มีพวกโจรมาปรึกษาหารือกันอยู่ใกล้ๆ โรงช้างหลายคืนติดต่อกันนาน
แล้ว พระโพธิสัตว์ฟังแล้ว เข้าใจทันทีว่า ช้างมงคลกลายเป็นช้างดุร้ายไป เพราะได้ฟังพวกโจรแล้วเข้าใจผิด
คิดว่าเขาสอนให้ตนเองทำตัวดุร้ายแบบนั้น
พระโพธิสัตว์จึงไปกราบทูลพระราชาว่าช้างไม่ได้เป็นบ้าไม่ได้ป่วยเป็นอะไร แต่ที่เป็นอย่างนี้ เพราะ
ฟังถ้อยคำของพวกโจร ท่านแนะนำว่า ถ้าจะแก้ไขให้เป็นช้างใจดีเหมือนเดิม ต้องนิมนต์สมณพราหมณ์
ผู้มีศีล มาพูดธรรมะ พูดเรื่องศีล เรื่องมารยาทให้ช้างฟัง พระราชาทรงเห็นด้วย รับสั่งให้ทำตามนั้น
พระโพธิสัตว์นิมนต์สมณพราหมณ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ให้มานั่งสนทนาเรื่องศีลกันในโรงช้าง ให้ช้างได้ยิน
สมณพราหมณ์เหล่านั้นสนทนากันว่า “คนดี จะต้องมีศีล มีมารยาทดีงาม อ่อนโยน ไม่ควรด่าใคร
ไม่ควรทำร้ายใครจะต้องมีขันติ มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเอ็นดูเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย” ช้างฟังดังนั้น
ก็เข้าใจว่า “สมณพราหมณ์เหล่านี้สอนเรา ต่อแต่นี้ไป เราควรเป็นช้างที่มีศีล” ตั้งแต่นั้นมา ช้างมหลามุข
กลับเป็นช้างใจดี สุภาพอ่อนโยนเหมือนเดิม พระราชาทราบเข้าทรงโสมนัส และชื่นชมพระโพธิสัตว์ว่าเป็น
บัณฑิตมีปัญญามาก เข้าใจแม้กระทั่งอัธยาศัยของสัตว์เดียรัจฉานจึงได้พระราชทานยศใหญ่ให้แก่พระโพธิสัตว์
- อรรถกถาขุททกนิกาย ชาดก, มหลามุขชาดก, มก. เล่ม 55 หน้า 301-303.
บ ท ที่
8 ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ การทำหน้าที่ กัลยาณมิตร DOU 127