ความหมายของกัลยาณมิตร DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น หน้า 15
หน้าที่ 15 / 142

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงความหมายและลักษณะของกัลยาณมิตร ซึ่งไม่เพียงแต่รวมถึงเพื่อนที่ดี แต่ยังหมายถึงหนังสือและสื่อที่มีคุณประโยชน์ สบายใจที่มีแวดล้อมทางสังคมที่ดี เช่น โรงเรียนและผู้ปกครองที่ดี กัลยาณมิตรจะต้องนำเสนอสิ่งที่ดีและมีคุณธรรม การให้การแนะนำต้องไปในทางที่สร้างสรรค์ไม่ทำให้หลงผิด หรือทำผิดกฎหมาย ผู้เขียนยังยกตัวอย่างสิ่งที่ไม่ควรถือเป็นกัลยาณมิตร เช่น การผลิตหรือแนะนำสิ่งที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสื่อมเสียในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกัลยาณมิตร
-บทบาทของหนังสือและสื่อ
-คุณธรรมและหลักคติในการเป็นกัลยาณมิตร
-ลักษณะของการให้คำแนะนำจากกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากความหมายในลักษณะของการทำหน้าที่ข้างต้นนี้ แสดงให้ทราบว่า กัลยาณมิตร นอกจากจะ หมายถึงมนุษย์หรือบุคคลที่เป็นเพื่อนที่ดีแล้ว ยังรวมหมายถึง หนังสือที่ดีที่อ่านแล้วให้ข้อคิดที่ดี หรือ ให้ความรู้ที่ดีมีประโยชน์ ทั้งนี้เพราะยังมีหนังสือจำนวนมาก ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน เมื่ออ่านแล้ว ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อชีวิต ต่อโลกหรือต่อสังคม อาจจะทำให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ก่อให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ กลับเพิ่มพูนความมี โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นในตัวผู้อ่าน เช่น หนังสือที่สอนให้ ไม่รู้คุณบิดามารดา หนังสือที่สอนให้ทำลายล้างชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หรือแม้หนังสือลามก เสนอภาพโป๊ ที่เพิ่มกามกิเลสแก่ผู้อ่าน ก็ถือว่าไม่ใช่กัลยาณมิตร สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดีก็สามารถเป็นกัลยาณมิตรได้ เช่น โรงเรียนที่ดี มีความสะอาด มีระเบียบ เรียบร้อย ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค หรือปล่อยให้มีการเสพยาเสพติดภายในโรงเรียน และยังมีคุณครูที่ดีมี ความรู้และคุณธรรม เป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนได้ ผู้ปกครองที่ดี และข้าราชการที่ดี ก็สามารถเป็นกัลยาณมิตรได้ เช่น กำนันที่ดี ผู้ใหญ่บ้านที่ดี ปลัดอำเภอที่ดี นายอำเภอที่ดี จนถึงผู้ว่าราชการที่ดี หรือถ้าหากเป็นข้าราชการทางการเมืองก็เป็นข้าราชการ การเมืองที่ดี เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดี สมาชิกวุฒิสภาที่ดี รัฐมนตรีที่ดี จนถึงนายกรัฐมนตรีที่ดี เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ หากเป็นผู้มีความดี มีศีลธรรม แนะนำสิ่งที่ดีมีประโยชน์มาให้ ก็สามารถเป็นกัลยาณมิตรให้ กับคนทั้งหลายได้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงสื่อสารมวลชนที่ดี ที่ทำให้ผู้รับสื่อได้สาระและคุณประโยชน์โดยเป็นสื่อที่ทำให้ ผู้รับมีความรู้ความเข้าใจและมีการดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม อันเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ในสังคม 1.2 ลักษณะของกัลยาณมิตร 1.2.1 หากพิจารณาลักษณะกัลยาณมิตรโดยยึดหลักของประโยชน์ อันเป็นประโยชน์ที่จะได้รับ จากการมีกัลยาณมิตรหรือจากการทำหน้าที่กัลยาณมิตรจะต้องดูว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเป็นประโยชน์ ที่จะต้องนำไปสู่ความดี เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง หรือผิดต่อศีลธรรมอันดีในสังคม การจะมีบุคคลใดนำประโยชน์มาให้ในทางที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรมอันดี เช่น ให้เงินสินบน ให้สินค้าผิด กฎหมาย ให้อาวุธที่ลักลอบมา หรือให้ของที่ขโมยมา แม้สิ่งดังกล่าวจะใช้อุปโภคบริโภคได้ หรือนำมาใช้งานได้ แต่บุคคลที่นำมาให้นั้น ยังไม่ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตร 1.2.2 หากพิจาณาลักษณะกัลยาณมิตรโดยยึดหลักของการให้คำแนะนำพร่ำสอน ต้องดูว่า คำพร่ำสอนของกัลยาณมิตรนั้นจะต้องเป็นไปในทางที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากสิ่งชั่วร้ายและสิ่งไม่ดีทั้งหลาย จะต้องช่วยบรรเทากิเลส ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง มิใช่เป็นคำสอนให้กระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม เช่น แนะให้ทุจริตในการสอบ แนะให้ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เป็นต้น หรือแม้จะเป็น บทที่ 1 ก ล ย า ณ ม ต ร คือ อะไร 6 DOU
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More