การทำทานและความกตัญญูในฐานะกัลยาณมิตร DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น หน้า 47
หน้าที่ 47 / 142

สรุปเนื้อหา

ในโลกนี้มีผู้ที่ชักชวนให้ทำทานแต่ไม่ทำด้วยตนเอง และผู้ที่ทำและชักชวนให้ทำ การทำทานนำมาซึ่งโภคทรัพย์และบริวารสมบัติ บัณฑิตคนหนึ่งได้ชักชวนมหาทุคตะให้เป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหาร แม้มหาทุคตะจะมีความยากจน แต่ก็ดำเนินการถวายภัตตาหารพระด้วยความตั้งใจ ในที่สุดมหาทุคตะได้แสดงความกตัญญูต่อการช่วยเหลือของกัลยาณมิตร การให้ความช่วยเหลือกันเป็นสิ่งสำคัญในสังคม การเป็นกัลยาณมิตรที่ดีจึงมีคุณค่าและนำไปสู่ความสุขได้

หัวข้อประเด็น

-การทำทาน
-ความสำคัญของการเป็นกัลยาณมิตร
-การช่วยเหลือผู้อื่น
-การสร้างบุญ
-ชีวิตของมหาทุคตะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บุคคลบางคนในโลก ไม่ทำทานด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นทำทาน เขาย่อมได้บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้โภคทรัพย์สมบัติในสถานที่ที่ตนเกิด บุคคลบางคนในโลก ทำทานด้วยตนเองและชักชวนผู้อื่นทำทาน เขาย่อมได้ทั้งโภคทรัพย์ สมบัติและบริวารสมบัติในสถานที่ที่ตนเกิด บัณฑิตคนหนึ่งได้ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา มีหัวใจของความเป็นกัลยาณมิตร คิดจะทำหน้าที่กัลยาณมิตร เพราะปรารถนาสมบัติทั้งสองจึงออกทำหน้าที่กัลยาณมิตรชักชวนหมู่ญาติให้ร่วม กันรับเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสาวก 2 หมื่นรูป หมู่ญาติทั้งหลายต่าง รับบุญเต็มกำลังของตน คนละ 10 รูปบ้าง 20 รูปบ้าง 100 รูปบ้าง 500 รูปบ้าง เต็มกำลังศรัทธาของตน บัณฑิตกัลยาณมิตรได้ทำหน้าที่ด้วยความร่าเริงมาตลอด จนได้มาพบกับมหาทุคตะผู้ยากจน เข็ญใจคนหนึ่ง ด้วยมหากรุณาจึงได้เข้าไปเชิญชวนมหาทุคตะให้ร่วมรับเป็นเจ้าภาพบ้าง มหาทุคตะก็ตอบว่า “การถวายภัตตาหารพระเป็นเรื่องของคนมีทรัพย์ สำหรับผมแม้ข้าวจะเลี้ยงท้องให้อิ่มใน วันพรุ่งนี้ยังไม่มีเลย ผมเป็นคนหาเช้ากินค่ำ จะให้ผมถวายภัตตาหารพระได้อย่างไร” กัลยาณมิตรมีจิตใจที่เปี่ยมด้วยความปรารถนาดีและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในการชี้แนะ จึงได้กล่าวตอบไปว่า “เพื่อนยาก คนทั่วไปกินอาหารอย่างดี นุ่งผ้าประณีต มีบ้านเรือนสวยงามใหญ่โต ส่วนท่าน รับจ้างทำงานตลอดทั้งวัน แม้อาหารที่พอจะประทังชีวิตยังไม่มี ท่านไม่ได้คิดเลยหรือว่า เป็นเพราะไม่ได้ สะสมทานกุศลมาในอดีตนั่นเอง” มหาทุคตะยืนนิ่งด้วยความสลดใจ จึงตัดสินใจรับเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารพระ 1 รูป แล้วรีบขวนขวายเร่งทำงาน เพื่อให้ได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นพอสำหรับเลี้ยงครอบครัวของตนเองและถวายพระอีก 1 รูป ครั้นถึงวันรุ่งขึ้น บัณฑิตกัลยาณมิตรนิมนต์พระไปตามบัญชีเจ้าภาพที่บันทึกไว้จนหมด มหาทุคตะมาหาบัณฑิตกัลยาณมิตรเพื่อรับพระไปถวายภัตตาหาร ปรากฏว่าบัณฑิตกัลยาณมิตรลืม บันทึกการเป็นเจ้าภาพของมหาทุคตะ มหาทุคตะราวกับถูกทำร้ายที่ท้องด้วยหอก ร้องไห้สองมือปิดหน้า น้ำตาไหลพราก อุทานว่า “ท่านชวนเราแล้วเมื่อวาน เราและภรรยารับจ้างทำงานตลอดทั้งวันเพื่อค่าจ้างวันนี้เที่ยว จัดเตรียมภัตตาหารแต่เช้าตรู่ ขอพระให้แก่เราสักรูปเถิด” บัณฑิตกัลยาณมิตรเกิดความละอายใจ เพราะว่าพระทั้งหมดได้นิมนต์ไปตามเจ้าภาพจนหมด แล้ว นึกถึงหนทางสุดท้ายจึงแนะนำให้มหาทุคตะไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระคันธกุฎี ซึ่งรายล้อมด้วย พระราชาและราชกุมารทั้งหลายที่รอรับบาตรของพระบรมศาสดาอยู่ มหาทุคตะเดินไปที่พระคันธกุฎี ผ่านไปในท่ามกลางพระราชาและราชกุมาร ก็ถูกทักท้วงขึ้นว่า นี้ยังไม่ใช่เวลาที่เจ้าจะมารับเดินอาหาร เนื่องจากเคยเห็นมหาทุคตะกินเศษอาหารในวันก่อนๆ มหาทุคตะซบศีรษะลงที่ธรณีประตูพระคันธกุฎี กราบทูลว่า 38 DOU บ ท ที่ 3 ห ลั ก ธ ร ร ม ในการเป็นกัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More