ข้อความต้นฉบับในหน้า
การทำหน้าที่กัลยาณมิตรของหญิงสะใภ้ได้พัฒนาขึ้นไปตามลำดับ เพราะการวางตัว
เสมอต้นเสมอปลาย อยู่มาวันหนึ่ง นางทาริกาได้กล่าวแก่สามีว่า “ข้าแต่นาย จะมีประโยชน์อะไรสำหรับ
ดิฉันในการอยู่ครองเรือน ดิฉันปรารถนาจะบวช” สามีกล่าวว่า “ดีละนางผู้เจริญ แม้ฉันก็จักบวช”
แล้วนำภรรยาไปยังสำนักภิกษุณีด้วยบริวารมากมาย ให้บวชเป็นภิกษุณี ส่วนตนเองก็เข้าไปเฝ้าพระ
บรมศาสดาทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาให้บรรพชาอุปสมบทแล้ว เมื่อท่านทั้งสองเจริญวิปัสสนาไม่นาน
นัก ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
5.4 วาจาสุภาษิตกับการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
วาจาสุภาษิต ไม่ว่าจะพูดด้วยถ้อยคำสำเนียงภาษาใด วาจานั้นย่อมเป็นวาจาชั้นสูง
ควรแก่การสรรเสริญของนักปราชญ์บัณฑิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างก็ชื่นชมอนุโมทนาสาธุการ เพราะ
เป็นถ้อยคำที่กลั่นออกมาจากใจที่บริสุทธิ์ ยิ่งถ้าเป็นวาจาของกัลยาณมิตร ผู้ประกอบด้วยจิตเมตตา
แนะนำให้สร้างแต่คุณงามความดี ยิ่งนับว่าเป็นวาจาสูงสุด เพราะนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ และกัลยาณมิตร
ผู้กล่าวแต่วาจาสุภาษิตนั้น ย่อมได้รับอานิสงส์อันเลิศ วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว
มิใช่สักแต่พูด พูดแล้วเป็นคุณทั้งแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟัง
องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต
1. ต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้น เป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่ ความ ต้องเป็นเรื่องจริง
2. ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะ ที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำหยาบ
คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ
3. พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟัง ถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและ
เป็นคำสุภาพ แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด
4. พูดด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข มีความเจริญยิ่งๆ
ขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำสุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธมีความริษยา
ก็ยังไม่สมควรพูด เพราะผู้ฟังอาจรับไม่ได้
5. พูดถูกกาลเทศะ แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ และ
พูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะ ไม่ถูกกาลเทศะ ผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น
จะกลายเป็นประจานกันหรือจับผิดไป
หน้า 85-86.
พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ, มงคลชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทฐานการพิมพ์ จำกัด, 2543),
78 DOU บทที่ 5 การทำหน้าที่ กัลยาณมิตร ต่อคน อื่น