ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด
ย่อมดำรงตน เจรจา สั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่ม
หรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทา ตามผู้ถึงพร้อม
ด้วยศรัทธา ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ศึกษาจากสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษา
ปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา”
สรุปความดังกล่าวได้ว่าผู้ที่จะมีชีวิตที่ดีงามหรือได้ชื่อว่ามีกัลยาณมิตรนั้นเมื่อได้อยู่อาศัยในท้องถิ่นใด
จะต้องรู้จักเข้าไปคบหาคนดี พร้อมทั้งศึกษาและนำเอาสิ่งที่ดีงามนั้นมาปรับปรุงตนเอง และในประโยค
ข้างต้นทำให้ทราบอีกว่า กัลยาณมิตรที่ควรจะเข้าหาจะต้องเป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ มีความถึงพร้อมด้วย
ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
นอกจากนี้ ในพระอภิธรรมปิฎก ได้อธิบายถึงความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร หรือที่เรียกว่า
“กัลยาณมิตตตา” นั้น จะต้องรู้จักเข้าไปคบหาคนดี และประพฤติปฏิบัติตามคนดีนั้น ดังความตอนหนึ่งว่า
“กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน?”
“บุคคลเหล่าใด เป็นคนมีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต มีจาคะ มีปัญญา
การเสวนะ การต้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น
ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา”
กล่าวคือ เมื่อเรารู้ว่าบุคคลใดเป็นบุคคลมีศรัทธา มีศีล เป็นผู้มีความรู้อันเกิดจากการได้ยินได้ฟัง
มามาก เป็นผู้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีปัญญาเฉลียวฉลาด เราจะต้องเข้าไปคบหาบุคคลดังกล่าวนี้ พร้อม
ทั้งปรับปรุงตนเองทั้งกายและใจให้เป็นคนดีตามด้วย เราจึงจะได้ชื่อว่า “กัลยาณมิตตตา” ซึ่งก็คือ ความเป็นผู้มี
กัลยาณมิตรนั่นเอง
1.1.3 ความหมายโดยลักษณะของการทำหน้าที่
กัลยาณมิตร โดยลักษณะของการทำหน้าที่ หมายถึง บุคคลผู้มีความตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม
ทำหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ผู้แนะนำ สั่งสอน ที่ปรึกษา
เพื่อนที่ดี หนังสือ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางสังคมโดยทั่วไปที่ดี ที่เกื้อกูล ซึ่งจะชักจูง หรือกระตุ้นให้เกิด
ปัญญาได้ด้วยการฟัง การสนทนา ปรึกษา ซักถาม อ่าน ตลอดจนการรู้จักเลือกใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์
3
ทีฆชาณสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 144 หน้า 561
2 พระอภิธรรมปิฎก บุคคลบัญญัติ, มก. เล่ม 79 ข้อ 73 หน้า 264
* มูลนิธิธรรมกาย, “สร้างธุดงคสถาน เป็นมหาทานบารมี” หน้า 1-2
บท ที่ 1 ก ล ย า ณ ม ต ร คือ อะไร
DOU 5