กุศลกรรมบถและละอคติธรรม DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น หน้า 63
หน้าที่ 63 / 142

สรุปเนื้อหา

กุศลกรรมบถ 10 ประการ ประกอบด้วย กายสุจริต, วจีสุจริต, และ มโนสุจริต ซึ่งช่วยให้เป็นคนมีคุณธรรมและความสุข การทำความดีส่งผลอานิสงส์ต่อบุคคลในหลายๆ ด้าน ส่วนละอคติธรรม 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ และ โทสาคติ ที่ทำให้เกิดการตัดสินไม่ยุติธรรมในสังคม โดยเฉพาะเมื่ออารมณ์รักหรือเกลียดเข้ามาเกี่ยวข้อง การตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถฝึกตนเองให้เป็นคนที่สมบูรณ์ได้.

หัวข้อประเด็น

-กุศลกรรมบถ 10 ประการ
-คุณธรรมที่ดี
-ละอคติธรรม
-อานิสงส์ของการทำความดี
-การใช้ชีวิตอย่างมีคุณธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.1.5 กุศลกรรมบถ บทฝึกตนทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ กุศลกรรมบถ 10 ประการ แบ่งออกเป็น กายสุจริต 3 อย่าง 1. เว้นจากฆ่าสัตว์ 2. เว้นจากลักทรัพย์ 3. เว้นจากประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต 4 อย่าง 1. เว้นจากการพูดเท็จ 2. เว้นจากพูดส่อเสียด 3. เว้นจากพูดคำหยาบ 4. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ มโนสุจริต 3 อย่าง 1. ไม่โลภอยากได้ของเขา 2. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา 3. เห็นชอบตามคลองธรรม อานิสงส์ของการประพฤติสุจริตมี 5 อย่าง คือ 1. ตนเองไม่พึงติเตียนตนเองได้ 2. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ 3. เกียรติคุณย่อมฟุ้งไป 4. เป็นผู้มีสติ ไม่หลงทำกาลกิริยา 5. ตายแล้ว มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 4.1.6 ละอคติธรรม 4 ประการ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่พอกัน เช่น การตัดสินคดีอธิกรณ์พิพาทต่างๆ ก็ดี แบ่งปันสิ่งของก็ดี พิจารณาให้ยศหรือรางวัลก็ดีด้วยอำนาจพอใจรักใคร่กันโดยตัดสินให้ผู้ที่ชอบพอกันเป็นผู้ชนะทั้งๆที่ไม่ควรชนะ ให้สิ่งของที่ดีให้ยศหรือรางวัลแก่คนที่ชอบพอกันทั้งๆ ที่ไม่ควรจะได้ ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมประการหนึ่ง โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เช่น การตัดสินคดีด้วยอำนาจความโกรธเกลียดชัง โดยให้ผู้ที่โกรธกันนั้น เป็นผู้แพ้ทั้งๆ ที่ ไม่ควรแพ้ ให้ของที่เลวแก่ผู้ที่ตนเกลียดชังทั้งๆ ที่เขาควรจะได้ของดี ไม่ให้ยศหรือรางวัลแก่ผู้ที่ไม่ชอบกันทั้งๆ ที่ควรจะได้ จัดเป็นการไม่ยุติประการหนึ่ง 54 DOU บทที่ 4 การทำ หน้าที่ กัลยาณมิตร ต่อตนเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More