ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระพุทธองค์ทรงห้ามเขาถึง 3 ครั้ง เพราะเห็นว่าเป็นเวลาที่ไม่เหมาะกับการแสดงธรรม แต่ในที่สุด
พระองค์ก็ทรงยินยอมโดยแสดงธรรมอย่างย่อๆ ว่า “ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง...ในกาล
นั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใดท่านไม่มี ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ในโลกหน้า ในระหว่างโลกทั้งสอง
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”
เมื่อพาหิยะได้ฟังคำสอนย่อๆ นี้ ก็เกิดความรู้ถึงระดับวิชชุญาณ และเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน
เป็นพระอรหันต์ ต่อมาภายหลัง พระพุทธเจ้าตรัสชมพระพาหิยะว่า “ภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ เป็น
บัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งยังไม่ทำให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งการแสดงธรรม” 1
พระอัสสชิสอนพระสารีบุตรแบบย่อๆ
ในระยะแรกแห่งการเผยแพร่พระศาสนา พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่ง ขณะ
ที่พระอัสสชิ (1 ใน 5 ของพระปัญจวัคคีย์) กำลังเดินบิณฑบาตอยู่ในเมือง อุปติสสปริพาชก สาวกคนสำคัญ
ของเจ้าลัทธิชื่อสัญชัยได้มาพบเข้าและรู้สึกประทับใจมากในกิริยามารยาทสงบสำรวมของพระอัสสชิ เมื่อ
ได้โอกาสจึงตรงเข้าไปถามว่าเป็นสาวกของใคร พระศาสดาสอนว่าอย่างไร พระอัสสชิตอบว่า
“เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านอย่างกว้างขวางได้
แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้”
พอได้ฟังเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรก็เกิดความรู้ระดับวิชชุญาณ เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน จน
กลายเป็นพระโสดาบันไป
2.) การสอนแบบไม่พูดแต่ให้ลงมือทำ
ในบางกรณี พระพุทธองค์ไม่ทรงสอนอะไรด้วยพระวาจาเลย แต่ทรงมอบหมายงานบางอย่างให้
คนกระทำจนกระทั่งเกิดความรู้ขึ้นมาพบความจริงด้วยตนเอง เท่าที่ได้สังเกตจากหลักฐาน ปรากฏว่า วิธีนี้
พระพุทธองค์ทรงใช้กับคนที่มีจิตใจอยู่ในภาวะไม่ปกติอย่างมาก จนไม่พร้อมที่จะฟังสิ่งใด
ทรงให้พระจูฬปันถกลูบผ้าขาว
ในสมัยพุทธกาล มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ มหาปันถก ต่อมาพระมหาปันถูกได้นำเอาน้องชายชื่อ
จูฬปันถูกมาบวชด้วย ครั้นบวชแล้ว พี่ชายก็มอบหมายหน้าที่ให้ท่องจำคาถาหรือคำฉันท์บทหนึ่งซึ่งมี
ความยาวเพียง 4 บาทเท่านั้น แต่พระจุฬปันถก ก็ท่องจำไม่ได้ แม้เวลาจะล่วงไปตั้ง 4 เดือนก็ตาม
2
1 พาหิยสูตร, ขุททกนิกาย อุทาน, มก.เล่ม 44 ข้อ 47 หน้า 124-128.
อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องพระจูฬปันถกเถระ, มก. เล่มที่ 40 หน้า 323-328.
บทที่ 7 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กั บ ก า ร ทำหน้าที่ กัลยาณมิตร DOU 111