ข้อความต้นฉบับในหน้า
โดยชอบธรรม พรหมจรรย์นั้น ย่อมไม่ครบถ้วน บริสุทธิ์บริบูรณ์
7.2.1 วิธีสอนแบบอิทธิปาฏิหาริย์
การสอนแบบอิทธิปาฏิหาริย์ คือการใช้ความสามารถพิเศษนี้ พระพุทธองค์ทรงใช้กับบุคคลประเภท
ปทปรมะที่มีลักษณะร้าย เป็นนักเลง หรือเป็นคนหัวแข็งไม่เชื่อฟังใครง่ายๆ อยากลองดี
พระพุทธองค์ทรงใช้ในโอกาสบางครั้ง ดังนี้
ทรงบันดาลไม่ให้เศรษฐีเห็นบุตร
ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสีพระพุทธองค์ทรง
มีโอกาสต้อนรับบุตรเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ยสะ ซึ่งเกิดเบื่อโลกชีวิต หนีจากบ้านมาพบพระพุทธองค์ในตอนเช้า
มืด และเมื่อได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้นรุ่งเช้า เศรษฐีผู้เป็นบิดาออก
เดินทางติดตามหาบุตรจนมาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธองค์ทรงเกรงว่าถ้าบิดาเห็นบุตรอาจจะพลาด
จากคุณวิเศษที่ควรได้ควรมี จึงทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงบันดาลด้วยการสร้างสรรค์ด้วยฤทธิ์ ให้
เศรษฐีคหบดีซึ่งนั่งอยู่ที่นี้ไม่เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ที่นี้ แล้วทรงบันดาลด้วยการสร้างสรรค์ด้วยฤทธิ์
ดังพระพุทธดำริ ต่อมาเศรษฐีผู้คหบดีได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรง
เห็นยสกุลบุตรบ้างไหม พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบโดยตรง ทรงเชื้อเชิญให้นั่ง ตรัสว่า บางทีถ้านั่งอยู่ที่นี่ อาจจะเห็นบุตรก็ได้
จากนั้นทรงแสดงธรรมให้ทั้งบิดาทั้งบุตรฟัง เมื่อจบพระธรรมเทศนา เศรษฐีได้เป็นพระโสดาบัน ส่วน
ยสกุลบุตรได้บรรลุอรหันต์ ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงคลายการสร้างสรรค์ด้วยฤทธิ์เสีย ทำให้พ่อกับลูก
ได้พบกัน ณ จุดนั้น
เศรษฐีเมืองพาราณสี และบุตรเป็นคฤหัสถ์คนแรกที่ได้รับการสั่งสอนจากพระพุทธองค์แล้วเกิด
วิชชุญาณ และความเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพระอริยบุคคล
ทรงปราบชฎิล 3 พี่น้อง 3
ที่ตำบลอุรุเวลา ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา มีชฎิล 3 พี่น้องพร้อมด้วยบริวาร 1000 รูป ตั้งอาศรม
บำเพ็ญตบะ มีชื่อเสียงปรากฏ เป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธเป็นอันมาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการจะสอนชฎิลเหล่านั้น จึงเสด็จไปหาชฎิลผู้พี่ชื่อ อุรุเวลกัสสปะ และ
ขอเข้าพักในโรงบูชาไฟ ชฏิลกัสสปะได้ห้ามไว้ เพราะในโรงบูชาไฟนั้น มีพญานาคที่มีพิษร้ายแรงอาศัยอยู่
แต่พระพุทธองค์ทรงยืนยันที่จะพักให้ได้ เพื่อจะแสดงฤทธิ์ให้ชฎิลได้เห็น คืนวันนั้น พระองค์ ทรงแสดงฤทธิ์
ปราบพญานาคจนสำเร็จ วันรุ่งขึ้น ยังจับพญานาคใส่บาตรนำมาแสดงให้ชฎิลดูอีก ทำให้พวกชฎิลเกิด
ปาสาทิกสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก.เล่ม 15 ข้อ 103 หน้า 267
มหาขันธกะ, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก.เล่ม 6 ข้อ 27 หน้า 63-64.
* มหาขันธกะ, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก.เล่ม 6 ข้อ 37-40 หน้า 87-91.
บทที่ 7 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กั บ ก า ร ทำหน้าที่ กัลยาณมิตร DOU 107