ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 4
การทำหน้าที่กัลยาณมิตรต่อตนเอง
ผู้ได้ชื่อว่ากัลยาณมิตร หมายถึงผู้ที่อุดมด้วยคุณธรรมความดีทั้งภายในและภายนอก การจะประสบ
ความสำเร็จในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรต่อคนอื่นนั้นต้องเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน เหมือนดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครั้นเสด็จออกผนวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรมแล้ว ก็มุ่งมั่นทำพระนิพพานให้แจ้ง เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้แก่ตนเองจนได้ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
แล้วทรงทำหน้าที่ยอดกัลยาณมิตรแก่มนุษย์ เทวดา พรหม รวมไปถึงสรรพสัตว์อีกมากมายนับไม่ถ้วน ตราบ
วันเสด็จดับขันธปรินิพพาน การทำหน้าที่ยอดกัลยาณมิตรแก่เหล่าเวไนยสัตว์ของพระองค์จึงประสบ
ความสําเร็จเกินควรเกินคาด
4.1 การฝึกฝนตนของกัลยาณมิตร
ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร คือผู้ที่รักในการฝึกฝนตนเอง ทั้งกาย วาจา ใจ
หมั่นปรับปรุงแก้ไขตนเองในทุกรูปแบบ ยอมสละทิฏฐิมานะอันจะเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ตนเองจะออกไปทำหน้าที่แนะนำแสงสว่าง
แห่งธรรม และประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นต่อมนุษยชาติ ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาหลักธรรมในการพัฒนา
คุณภาพชีวิตของการเป็นกัลยาณมิตรที่ดีเอาไว้
4.1.1 สัปปุริสธรรม 7 ประการ
คุณธรรมของผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรของโลก
1. ธัมมัญญู รู้จักธรรม ต้องมีธรรมะประจำใจที่สามารถเป็นแนวทางในการสอนตนเองและคนอื่นได้
ไม่ใช่เป็นคนหลักลอย มีความเข้าใจและแตกฉานในคำสอนของพระพุทธเจ้าในระดับหนึ่ง ต้องหาโอกาสศึกษา
ธรรมะในพระไตรปิฎก ศึกษาจากการฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ หรือจากการอ่านหนังสือธรรมะ เป็นต้น
2. อัตถัญญู รู้จักอรรถ คือ ทำความเข้าใจในเนื้อความต่างๆ ได้อย่างแตกฉาน จนสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง รู้ความมุ่งหมายของหลักธรรมนั้นๆ ว่ามีวัตถุประสงค์หรือเหตุผลอย่างไร อีกทั้ง
สามารถตีความหมายของผู้ที่ตนเองไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้นั้นว่ามีจุดประสงค์อะไร เมื่อมีปัญหา สามารถ
แก้ไขให้ได้
ธัมมัญญูสูตร, อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 65 หน้า 236-240.
50 DOU บทที่ 4 การ ทำ หน้าที่ กัลยาณมิตร ต่อตนเอง